2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
53 2) การปักหลักเขตตามแนวเขตที่กำหนด เพื่อให้ทราบอาณาเขตการก่อสร้าง โครงการชลประทาน 3) การดำเนินการนัดราษฎรเพื่อประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อให้ผู้ครอบครอง ที่ดินเพื่อชี้แจงรายละเอียด โดยเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กระทรวงมหาดไทย 4) ดำเนินการรังวัดจัดทำแผนที่แปลงกรรมสิทธิ์ที่ดิน (แผนที่ ร.ว.43ก.) เพื่อให้ สามารถทราบถึงรายละเอียดของเนื้อที่แต่ละครัวเรือนของที่ดินว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แท้จริงมี เอกสารสิทธิที่ออกโดยกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยหรือไม่ เพื่อใช้ประโยชน์เพื่อการชลประทาน กรมชลประทานรับแผนที่ ร.ว.43 ก.จากกรมที่ดิน เพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดหาที่ดิน เพื่อการชลประทานต่อไป โดยหากสามารถเจรจรากับราษฎรได้ก็ให้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินด้วยวิธีการ เจรจาปรองดอง โดยใช้ระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 8-12 เดือนตามขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมาใน ข้างต้น 2. การดำเนินการกำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สิน สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้ 1) ประเภทของที่ดินที่ทางกรมชลประทานนำมาพิจารณากำหนดราคาค่าทดแทน ให้กับราษฎรหรือผู้ถูกเวนคืน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ ประเภทที่ 1 ที่ดินประเภทมีเอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้แก่ โฉนด ที่ดิน (น.ส.4) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ใบจอง หนังสือแสดงสิทธิครอบครอง (ส.ค.1) เป็นต้น ประเภทที่ 2 ที่ดินประเภทไม่มีเอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่ง ราษฎรหรือครัวเรือนใดที่เข้าถือครองประโยชน์ทั้งที่ชอบและมิได้ชอบด้วยกฎหมาย ก่อนที่ทางกรม ชลประทานจะเข้าดำเนินการโครงการ ประเภทของทรัพย์สินที่ราษฎรหรือผู้ครอบครองที่ดินได้ปลูกสร้างมี 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ ประเภทที่ 1 บ้านพักอาศัย อาคาร โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ราษฎรได้เข้า ครอบครองทำประโยชน์ก่อนที่กรมชลประทานจะเข้าทำการก่อสร้าง เช่น พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาล พระภูมิ บ่อน้ำบาดาล เป็นต้น ประเภทที่ 2 ต้นไม้ยืนต้น ต้นผลไม้ รวมถึงพืชล้มลุกที่ยังไม่เก็บเกี่ยวผลซึ่งปลูก อยู่ในที่ดินที่มีหรือไม่มีเอกสารสิทธิ โดยจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้เฉพาะที่เสียหายเนื่องจากการก่อสร้าง โครงการชลประทานและไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลได้ทัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3