2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

55 คณะกรรมการได้แก่ เจ้าหนักงานที่ดินจังหวัด นายอำเภอท้องที่ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน หัวหน้าช่างโครงการชลประทาน เป็นกรรมการ และหัวหน้าฝ่ายจัดหาที่ดิน เป็น กรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ คณะกรรมการทั้งสองคณะ มีหน้าที่กำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สินทุกชนิด และครัวเรือนที่มีสิทธิ์รับเงินค่าทดแทนทรัพย์สิน ตลอดจนเป็นผู้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อสำรวจ ตรวจสอบผลอาสินในพื้นที่ และเพื่อดำเนินกระบวนการจ่ายเงินค่าทดแทนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ได้กำหนดไว้ โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวว่าเป็นผู้ใด คณะอนุกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินมีหน้าที่ในการตรวจสอบทรัพย์สินทุกประเภทตามความเป็นจริง และคำนวณ ค่าทดแทนทรัพย์สินตามราคาที่คณะกรรมการได้กำหนดไว้ 2.10 แนวความคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล แนวความคิดในเรื่องสิทธิและเสรีภาพนี้ กำเนิดจากแนวความคิดเรื่อง “สิทธิตาม ธรรมชาติ” โดยมีสาระสำคัญคือ มนุษย์ทุกคนย่อมมีความเทียมกัน ทั้งนี้มีสิทธิบางประการที่ติดตัวมา ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสิทธิและเสรีภาพนั้นมีพื้นฐานโดยตรงมาจาก ธรรมชาติของมนุษย์ มีความเป็นเอกเทศแยกออกจากกฎหมายซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติอันมีอยู่โดย ธรรมชาติ โดยในสมัยกรีกและโรมันโบราณนั้นได้มีการเริ่มต้นความคิดทางปรัชญาที่สามารถพัฒนา ต่อไปเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ เป็นการจำกัดอำนาจของผู้ปกครองรัฐและมีความความ มุ่งหมายที่แท้จริงที่ได้มีการเสนอความคิดเรื่องสิทธิ (อุดม รัฐอมฤต, 2544) ในทางปรัชญาแนวความคิดเรื่องของสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์เริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่ ในยุคกรีก โดยอริโตเติล (Aristotle) ซึ่งเกิด 384 ก่อน ค.ศ. (พ.ศ. 160) นักปรัชญากรีก กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผลย่อมมีเสรีภาพในการเลือกและด้วยเหตุผลที่ถูกต้องย่อมช่วยให้เขาเข้าถึง ธรรมชาติได้ และจุดนี้คือเสรีภาพที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ โดยแนวความคิดนี้ถือว่ามนุษย์นั้นมีเสรีภาพอยู่ แล้วตามกฎธรรมชาติภายใต้เหตุผลที่ถูกต้องเนื่องจากภูมิปัญญาของมนุษย์ โดยที่มาลความสำคัญของ แนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพนั้นมาจากสำนักกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) ซึ่งเป็น สำนักกฎหมายที่มีแนวความคิดที่มีบทบาทต่อแนวความคิดทางกฎหมายของยุโรปหลายประการ (อุดม รัฐอมฤต, 2544)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3