2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

56 2.10.1 แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ พัฒนามาจากสิทธิและเสรีภาพของชนชั้นกลางของยุโรปในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมา จนถึงปัจจุบัน เนื่องด้วยในยุโรปมีการบังคับให้พวกขุนนางและกษัตริย์ให้หลักประกันในสิทธิและ เสรีภาพบางประการเฉพาะของตน ผ่านการทำหลักประกันในรูปแบบของเอกสารต่าง ๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง มหากฎบัตร Magna Carta ในปี ค.ศ. 1215 ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมาก ในการต่อสู้ของชนชั้นกลางอันเป็นข้อเรียกร้องซึ่งเกิดมาจากการที่พวกขุนนางไม่พอใจพระเจ้าจอห์น ซึ่งปกครองสหราชอาณาจักร เนื่องด้วยพระเจ้าจอห์นมักจะเก็บภาษีตามใจและนำภาษีดังกล่าวไปใช้ เพื่อการสงคราม แต่เมื่อพระเจ้าจอห์นเป็นฝ่ายแก้จากการทำสงครามในการรบพุ่งกันจึงจำต้องยอม ประทับตราลงใน Magna Carta โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการเก็บภาษีว่า การเก็บภาษีนั้นโดย ไม่ได้รับความเห็นชอบจากพวกขุนนางไม่ได้ และนอกจากนี้ยังมีตัวบทกฎหมายกำหนดไว้ว่า “อิสรชน ไม่อาจจะถูกจับกุม คุมขัง ถูกประหาร หรือถูกเนรเทศ หรือถูกกระทำโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง เว้นแต่โดย อาศัยพื้นฐานคำวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมาย” เพื่อป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบจาก หน่วยงานยุติธรรมหรือกระบวนการทางศาลของพระมหากษัตริย์ (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2547) หลักการของสิทธิเสรีภาพโดยเจตนารมณ์ร่วมกันของปวงชนนั้นในการกำหนดวาง หลักของสิทธิและเสรีภาพพัฒนามาสู่ปัจจุบัน ผ่านการวางเงื่อนไขและหลักการจำกัดสิทธิของ ประชาชนอยู่ภาพใต้รูปแบบของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด หรือเจตนารมณ์ร่วมกันของ ประชาชนในรัฐ โดยถือว่าการต่อสู้เพื่อได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตยของราษฎรนั้นก็ เพราะประสงค์จะให้ตนมีสิทธิและเสรีภาพ โดยจะมีบทบัญญัติกำหนดเรื่องสิทธิและเสรีภาพ รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรของประเทศต่าง ๆ กำหนดไว้ในปัจจุบัน หรือกรณีของระหว่างประเทศ กล่าวคือ รับรองว่าปฏิญญาสิทธิมนุษยชนและพลเมืองที่ประกาศเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 1789 นั้น ยังคงใช้ได้โดยรับรองไว้ในคำปรารภและเพิ่มเติมสิทธิเสรีภาพบางอย่างลงไว้ในคำปรารภนั้นด้วย (หยุด แสงอุทัย, 2538) โทมัส ฮอปส์ (Thomas Hobbes, ค.ศ. 1588-1679) เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์นั้นเป็นคนที่เห็นแก่ตัวและโหดร้าย (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2564) ดังนั้น ถ้ามนุษย์ แต่ละคนใช้เสรีภาพกันอย่างเต็มที่แล้วย่อมทำให้สังคมเกิดความขัดแย้งวุ่นวาย เนื่องด้วยตามแนวคิด ของเขา เขาเห็นว่า มนุษย์แต่ละคนควรเสียสละเสรีภาพส่วนตนบางส่วน เพื่อให้สังคมมีความสุขและ ทำสัญญา (ที่เรียกกันว่า Pactum Subjection S) เพื่อให้รัฐเป็นผู้ทรงอำนาจอธิปไตยรักษาความสงบ ของสังคม และจอห์น ล็อค (John Lock, ค.ศ. 1632-1704) ผู้จุดประกายทฤษฎีสัญญาประชาคม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3