2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

58 “สิทธิ” หมายถึงประโยชน์ที่กฎหมายรองรับและคุ้มครองให้แก่บุคคลในอันที่จะ กระทำการเกี่ยวข้องกับทรัพย์หรือบุคคลอื่น เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในร่างกายและชีวิต (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 2543) “สิทธิ” มีสองความหมายได้แก่ การมองจากอำนาจของผู้ทรงสิทธิ คือ อำนาจที่ กฎหมายให้แก่บุคคลในอันที่จะมีเจตจำนง และการมองจากวัตถุประสงค์ของสิทธิ คือ ประโยชน์ที่ กฎหมายคุ้มครองให้อันเป็นแนวความคิดของ Jhering (หยุด แสงอุทัย, 2545) โดยสามารถแบ่งแยก “สิทธิตามรัฐธรรมนูญ” ออกจากความหมายของคำว่า “สิทธิ ตามความหมายทั่วไป” โดยสิทธิตามรัฐธรรมนูญนั้น หมายถึง “อำนาจตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย สูงสุดได้บัญญัติให้การรับรอง คุ้มครองแก่ปัจเจกบุคคลในอันที่จะกระทำการใด หรือไม่กระทำการใด การให้อำนาจแก่ปัจเจกชนดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องที่จะไม่ให้บุคคลใดแทรกแซงในสิทธิตาม รัฐธรรมนูญของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรียกร้องต่อองค์กรของรัฐมิให้แทรกแซงขอบเขตสิทธิของตน” (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2543) ความหมายของคำว่า “สิทธิ” ไว้หมายถึง ความชอบธรรมที่บุคคลอาจใช้ยันกับผู้อื่น เพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์ อันเป็นส่วนที่พึงได้ของบุคคลนั้น หรือเป็นอำนาจที่กฎหมาย รับรองให้แก่บุคคลในอันที่จะเรียกร้องให้บุคคลอื่นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดประโยชน์ แก่ตน กฎหมายที่รับรองสิทธิแก่บุคคลนั้นอาจจะเป็นกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายเอกชนก็ได้ ดังนั้น สิทธิ (Rights) จึงเป็นประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ ซึ่งหมายความว่าเป็นประโยชน์ที่ กฎหมายรับรองคุ้มครองให้และรับรองว่ามีอยู่ และเป็นประโยชน์ที่กฎหมายให้การคุ้มครอง คือ คุ้มครองมิให้มีการละเมิดสิทธิ รวมทั้งบังคับให้เป็นไปตามสิทธิในกรณีที่มีการละเมิดด้วย (เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, 2564) ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้ 1. ต้องมีกฎหมายรับรองและคุ้มครอง ซึ่งอาจรับรองไว้ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสิทธิบางอย่างกฎหมายแพ่งมิได้รับรองไว้โดยตรง แต่รับรองทางอ้อมในกฎหมายอื่น เช่นประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 334 คุ้มครองสิทธิในทรัพย์ของบุคคลที่จะไม่ถูกคืนอื่นลักเอาไป 2. สิทธิต้องมีผู้ทรงสิทธิ (Subject Of Law) ซึ่งตามกฎหมายแล้วผู้ทรงสิทธิมีสอง ประเภท คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่ในปัจจุบันกฎหมายยังได้ขยายความรวมถึงกลุ้มหรือ คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลก็ถือว่าเป็นผู้ทรงสิทธิได้ เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งยังเป็นผู้ทรวงสิทธิได้ แต่ตามประมวลกฎหมายรัษฎากรถือว่าห้างหุ้นส่วนสามัญยังเป็นหน่วยภาษีชนิดหลังที่ต้องเสียภาษี ด้วย เมื่อผู้ทรงสิทธิถูกบุคคลอื่นมาละเมิดสิทธิ ผู้ทรงสิทธิสามารถดำเนินกระบวนการคุ้มครองสิทธิของ ตน เช่นการฟ้องคดี เป็นต้น เพื่อให้มีการเยียวยาที่ถูกละเมิดสิทธิ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3