2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
60 3. การถือครองที่ดินพื้นที่การเกษตรที่เกษตรกรเป็น เจ้าของมีแนวโน้มลดลงเหลือประมาณ ร้อยละ 48 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 4. มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตร 5. การขาดการเชื่อมโยงในลักษณะของคลัสเตอร์ตลอดห่วงโซ่มูลค่าของสถาบันเกษตรกรและ เครือข่าย เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในตลาดและลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ 6. ความไม่สอดคล้องกันของปริมาณและคุณภาพผลผลิตกับความต้องการของตลาดทั้งใน ด้านการบริโภคทางตรงและการเป็นวัตถุดิบแปรรูปผลิตภัณฑ์ 7. การผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำไม่ สร้างมูลค่าเพิ่ม 8. แนวโน้มแรงงานในภาคเกษตรไทยที่มีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น แต่ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่ส่งผลให้การพัฒนาภาคเกษตรของไทยไม่ สามารถยกระดับและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1) ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้ง อุทกภัย และวาตภัย รวมถึงการระบาดของโรค ที่เกิดกับพืชและสัตว์ 2) ความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรที่เกิดจากการผลิตสินค้าตามฤดูกาลและภาวะ เศรษฐกิจโลก 3) การนำประเด็นทางสังคมมาเป็นมาตรฐานทางการค้าระหว่างประเทศและประเทศคู่ค้า เพิ่มมากขึ้น เช่น มาตรฐานแรงงาน มาตรฐานสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เป้าหมายของตัวชี้วัด ประกอบด้วย ตัวชี้วัดที่ 2.4 ระบบชลประทานต้องมีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 เมื่อสิ้นสุดแผน และตัวชี้วัดที่ 2.5 เกิดการใช้น้ำซ้ำในพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทาน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่เมื่อสิ้นสุดแผน ซึ่งเป็นค่าเป้าหมายของการพัฒนาระดับหมุดหมาย เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมชลประทาน โดยอยู่ในกลยุทธ์ที่ 4 เรื่องการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรให้มีความสมดุล ระหว่างอุปสงค์และอุปทานรวมทั้งการใช้น้ำซ้ำ ปรากฎในกลยุทธ์ย่อยที่ 4.2 การเร่งพัฒนาและฟื้นฟู ระบบชลประทานและการกระจายน้ำในพื้นที่เขตชลประทาน พร้อมทั้งพัฒนาและบริหารจัดการแหล่ง น้ำนอกเขตชลประทาน รวมถึงแหล่งน้ำชุมชนตลอดจนการจัดการตะกอนที่เหมาะสม โดยความ ร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำให้ สามารถใช้ได้อย่างมี (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2566)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3