2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

70 2.12.3 สหราชอาณาจักร แนวคิดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนและการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม รัฐธรรมนูญของสหราชอาณาจักร ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในมหาบัตร (Magna Carta 1215, 1758) ใน ค.ศ. 1215 โดยกษัตริย์ของสหราชอาณาจักรได้ประกาศรับรู้สิทธิบางประกาศรับรู้สิทธิบาง ประการของประชาชน ในมหาบัตรดังกล่าว และกษัตริย์จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของ ประชาชน ในหลักการเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน ทั้งนี้ ในบทบัญญัติที่ 39 ของมหาบัตร บัญญัติไว้ว่า “เสรีชนจะต้องไม่ถูกริบทรัพย์สิน หรือบังคับให้ออกจากที่ดิน (Free Hold) ถูกจับคุมขัง ถูกเนรเทศ หรือถูกบังคับให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งจากข้าราชการ เว้นแต่จะเป็นไปตามคำ พิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกฎหมายของประเทศ” โดย (สมยศ เชื้อไทย, 2562) อธิบาย องค์ประกอบของแนวคิดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนและการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ได้ ดังต่อไปนี้ 1. ลักษณะกฎหมายที่ใช้บังคับ สิทธิในการเวนคืนที่ดิน หรือการรอนสิทธิของเจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน ถือว่าเป็นอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ที่สามารถกระทำได้ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมผ่านการออกเป็น นกฎหมาย ทั้งนี้ กฎหมายเวนคืนของสหราชอาณาจักรปรากฏอยู่ในรูปแบบของกฎหมายลายลักษณ์ อักษรหลายฉบับ ได้แก่ Land clauses Act 1845, The compulsory Purchase Act 1965, The compulsory purchase (vesting Declarations) Act 1981, The Land compensation Act 1961 และ The Land compensation Act 1973 โดยบังคับใช้กฎหมายแต่ละฉบับในกระบวนการ เวนคืนแต่ละขั้นตอน 2. การกำหนดเงินค่าทดแทน กำหนดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการจ่ายค่า ทดแทนความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นกับที่ดิน ค.ศ. 1966 และ 1973 (The Land compensation Act 1961 และ The Land compensation Act 1973 ) ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะต้องกำหนดค่าทดแทน ทรัพย์สินจากการเวนคืนที่ดินตามราคาในท้องตลาดของที่ดินที่เวนคืน เนื่องจากเป้นราคาอันสามารถ คาดหมายได้ว่าผู้ขายหรือผู้ถูกเวนคืนยอมรับได้ในกรณีที่การเวนคืนที่ดินไม่ครอบคลุมถึงที่ดินทั้งหมด และผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับค่าทดแทนความเสียหายจากการที่ที่ดินแปลงที่เหลืออยู่ราคาลดลงจากผล การเวนคืนนั้น ทั้งนี้ การจ่ายค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการเวนคืนที่ดินไม่ได้จำกัดเฉพาะเจ้าของที่ดิน เท่านั้น แต่ยังหมายความรวมไปถึงบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย (Home Loss Payment) เช่น กรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้เช่า โดยที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าตนได้รับความเสียหาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3