2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
74 เวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืน โดยจำต้อง คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะผลกระทบต่อผู้ถูกเวนคืน รวมทั้งประโยชน์ที่ผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับจากการ เวนคืนนั้น โดยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำเพียงเท่าที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการที่บัญญัติไว้ใน วรรคสาม เว้นแต่เป็นการเวนคืนเพื่อนำอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามกฎหมายบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2560) ดังนั้น จากบทบัญญัติดังกล่าวอาจพิเคราะห์การใช้สิทธิ สภาพบังคับ และข้อจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (สมคิด เลิศไพฑูรย์ และ กล้า สมุทวณิช, 2546) ได้ดังต่อไปนี้ 1. การใช้สิทธิในการที่จะไม่ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เป็นสิทธิที่ปลอดจากการแทรกแซง ของรัฐ 2. สภาพบังคับของสิทธิและเสรีภาพ เป็นหลักว่าจะต้องไม่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของ ประชาชน หรือหากเวนคืนก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย และให้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม 3. ข้อจำกัดของสิทธิและเสรีภาพ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะทำได้ต่อเมื่ออาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีเงื่อนไขเฉพาะในกรณีต่อไปนี้ การอันเป็นสาธารณูปโภค การป้องกัน ประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น 2.13.2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อไปสู่ความทันสมัยยิ่งมีความจำเป็นอย่างมากต่อ การ ปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้การ ปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติ หน้าที่ของส่วนราชการนี้ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่า ในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอน การปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็นและประชาชนได้รับการอำนวย ความสะดวกและได้ตอบสนองความต้องการ (จีรนันท์ ยายะวงษ์, บุญโชค บุญมี, ทาริตา แตงเส็ง, วิภาวดี สีตนไชย และโชติ บดีรัฐ, 2564) นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอและเนื่องจาก บทบัญญัติ มาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 บัญญัติให้กำหนดหลักเกณฑ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3