2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

75 และวิธีการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติราชการ เพื่อให้เกิดการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546, 2546) ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าอนาคตข้างหน้า ระบบ การบริหารจัดการบ้านเมืองน่าจะอยู่ในสภาพที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือ Good Governance ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการ พัฒนาราชการไทยในช่วงที่ผ่านมานั้นต้องพิจารณาคำสองคำประกอบกัน คำแรกคือ Governance ซึ่งเป็นเรื่องของการบริหารการปกครอง เดิมนั้นเราคิดว่าภาครัฐเท่านั้นที่ดูแลกิจการบ้านเมือง คิดว่ามี การเลือกตั้ง มีรัฐบาล มีระบบราชการเป็นกลไกทำงานก็น่าจะเพียงพอต่อการพัฒนาบ้านเมืองแล้ว แต่ เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นก็คิดว่าควรจะมีกลไกอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงเริ่มมีความคิดเห็นของหลายฝ่าย ขึ้นมา ฝ่ายแรก คือ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งเน้นการใช้ กลไกตลาด เน้นบทบาทภาคเอกชนและต้องการ ถ่ายโอนกิจการของรัฐให้เอกชนแทนอีกฝ่ายหนึ่ง คือ นักรัฐศาสตร์ ก็ต้องการทำให้ภาครัฐมีบทบาท และขนาดเล็กลง กลไกที่นำมาใช้ไม่ใช่กลไกตลาดแต่เป็นภาคประชาสังคม เพื่อให้ประชาชนเข้ามา บริหารกิจการบ้านเมืองด้วยตนเอง สร้างพลังและการรวมเป็นกลุ่มชุมชน ฉะนั้นแนวคิดของการ บริหารกิจการบ้านเมืองจึงเปลี่ยนไปภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ดำเนินการเอง มีการ ลดขนาดลง มีการเปิดภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ในการดูแลกิจการบ้านเมืองมากขึ้น ซึ่งก็ต้อง พยายามที่จะหาจุดสมดุลระหว่างกลไกภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อเข้ามาร่วมกัน ดูแลกิจการบ้านเมืองของเรา ส่วนคำว่า Good ก็ต้องมีการนิยามว่าที่ดี ซึ่งก็มีตัวชี้วัดอยู่ในหลักธรร มาภิบาล โดยสามารถสรุปปัญหาใหม่ได้ดังนี้ คือ หลักธรรมมาภิบาลมี 6 หลัก คือ หลักนิติธรรม หลัก คุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความพร้อมรับผิด และหลักความคุ้มค่า ซึ่ง ปรากฏอยู่ในข้อ 4 เรื่องหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 (วิภาส ทอง สุทธิ์, 2551) ซึ่งมีวิธีการบริหารให้เป็นไปตามหลักดังกล่าวได้ดังนี้ 1. กลไกที่มีอยู่บกพร่อง ไม่สามารถเตือนภัยที่เคลื่อนตัวเข้ามากระทบระบบเศรษฐกิจและ การเงินอย่างรวดเร็วได้ รวมทั้งเมื่อถูกกระทบแล้วยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนกลไก และฟันเฟืองการ บริหารจัดการต่าง ๆ ของภาครัฐและภาคเอกชนให้ทันต่อสถานการณ์ได้ เนื่องด้วยการขาดกลไกและ กฎเกณฑ์ที่ดีพอในการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคม 2. ความอ่อนด้อยและถดถอยของกลุ่มข้าราชการ นักวิชาการ หรือเทคโนแครตผู้ทรงความรู้ วิทยาการสมัยใหม่สาขาต่าง ๆ ที่มามีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยเป็นผู้ซึ่งมีบทบาท สำคัญในการศึกษา ค้นคว้า เสนอนโยบายและแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่จำเป็นในการบริหารประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3