2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

76 3. ระบบบริหารไม่มีประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสหรือช่องทางให้เกิดความ ฉ้อฉลผิดจริยธรรมในวิชาชีพ จากการที่ระบบการตัดสินใจและการบริหารจัดการทั้งของภาครัฐและ ภาคธุรกิจเอกชนมีลักษณะที่ขาดความโปร่งใส ความบริสุทธิ์ และความยุติธรรม 4. ประชาชนไม่มีโอกาสในการร่วมตัดสินใจและร่วมแก้ไขปัญหา เนื่องจากขาดข้อมูลข่าวสาร ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองอย่างชัดเจน 5. การฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจของไทยที่อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่ควรจะเป็นจากปัญหา การทุจริตประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและเอกชนที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและมีการร่วมกันอย่างเป็น กระบวนการ ซึ่งการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนก็คือ การขจัดสาเหตุของปัญหาดังกล่าวข้างต้น และสร้าง ธรรมรัฐหรือธรรมาภิบาล (Good Governance) เพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ให้ปรากฏเป็นจริงในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน กล่าวได้ว่า ตัวชี้วัดว่าระบบหน่วยงานราชการได้มีการพัฒนา ระบบงานหรือการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดีหรือโดยการมีส่วนร่วมจากประชาชนโดยตรงที่เข้าไปรับบริการจากภาครัฐว่า สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน โดยการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีจะต้อง ประกอบไปด้วย 1. เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน 2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ 3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ 4. ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น 5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ 6.ประชาชนได้รับความอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองต่อความ ต้องการ 7. มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน เป็นเจตนารมณ์สูงสุดในการบริหาร ราชการแผ่นดิน ประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึงการทำงานและการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ของส่วนราชการใด ๆ ต้องคำนึงหลักการนี้เป็นสำคัญ มีการจัดทำแผนงานโครงการและบริการต่าง ๆ ที่มีผลนำประโยชน์สุขไปสู่ประชาชน ประชาชนพึงพอใจในคุณภาพบริการ ตอบสนองและตรงกับ ความต้องการของประชาชน และเป็นการบริหารราชการ ที่ส่งผลทางบวกต่อประชาชนและสังคม โดยรวมให้การบริหารราชการเป็นไปตามหลักการ (พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545, 2545)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3