2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
78 สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งแนวนโยบายแห่งรัฐจะกล่าวไว้ 9 ประการ ประกอบไปด้วย 1. บททั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนของคณะรัฐมนตรี 2. แนวนโยบายด้านความั่นคงของรัฐ 3. แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 4. แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงานธรรมชาติ 5. แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม 6. แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ 7. แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ 8. แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 9. แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546, 2546) และ ในมาตรา 8 วรรคสาม เป็นการระบุถึงขั้นตอนปฏิบัติของราชการไว้ ดังนี้ 1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำ แผนปฏิบัติการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเป็นแผนที่คาดการล่วงหน้าในระยะการอย่างต่อเนื่อง มีการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ ควบคู่ไปกับ การสำรวจและรับฟังความคิดเห็น การสร้างฉันทามติจากประชาชน องค์กร และเอกชนอย่าง กว้างขวาง ซึ่งเป็นการจัดทำแผนปฏิบัติการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ 2. สำนักงานสถิติแห่งชาติหรือหน่วยงานอื่นตามที่ ก.พ.ร. กำหนดดำเนินการ สำรวจและประเมินคุณภาพบริการ สาธารณะของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปีละครั้ง เพื่อให้ ได้ข้อมูล ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. และรัฐบาลจะนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนานโยบายที่ตอบสนอง ความต้องการและนำไปสู่ประโยชน์สุขของประชาชน ซึ่งเป็นการสำรวจและการประเมินคุณภาพ ให้บริการสาธารณะลความพึงพอใจของประชาชน จะเห็นได้ว่า การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เป็นปฏิบัติ ตามกฎหมายบ้านเมืองพร้อมทั้งปรับเปลี่ยนการทำงานไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะต้องให้ สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน เพราะการทำงานเพื่อประโยชน์สุขของชาวบ้านจำเป็นต้อง มีการรับฟังเสียงของประชาชน หากแม้ว่าโครงการดังกล่าวฝ่ายรัฐจะต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการ ทำงานใหม่โดยทันที แม้กระทั่งตัวผู้บริหารและข้าราชการทั้งหลายจะต้องให้บริการประชาชนด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3