2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
79 ความเต็มใจมีความขยันหมั่นเพียร มีความซื่อสัตย์สุจริตด้วย กาย วาจาและใจ มีความเที่ยงธรรม เป็นต้น ย่อมทำให้ประชาชนได้รับความสุขในการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข จากการบริหารจัดการและ ทำหน้าที่ของรัฐ มาตรา 9 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจแห่งรัฐจะต้องมีการจัดรูปแบบ การบริหารราชการโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน วัดผลได้ มีผู้รับผิดชอบและโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล และต้องจัดระบบ เพื่อที่รัฐบาลสามารถให้รางวัลตอบแทนต่อส่วนราชการ หรือท้องถิ่นที่ทำงานมี ผลสัมฤทธิ์ได้อย่างโปร่งใสและเป็นธรรมมากขึ้น โดยควรจะจัดระบบการบริหารราชการแผ่นดินแนว ใหม่ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 9 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมือง ที่ดี พ.ศ. 2546 กำหนดไว้ดังนี้ มาตรา 9 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ในส่วนราชการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้ เป็นการล่วงหน้า (2) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (1) ต้องมีรายละเอียดของ ขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของ ภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ (3) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติ ราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด (4) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผล กระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือเบาเทาผลกระทบ นั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม ดังนั้น ควรจะจัดระบบการบริหารราชการแผ่นดินแนวใหม่ กล่าวคือ 1. ส่วนราชการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดวาระของรัฐบาล เมื่อวาระการ บริหารราชการของรัฐบาลชุดใดชุดหนึ่งสิ้นสุดลง ส่วนราชการต่าง ๆ ต้องจัดทำรายงานสรุปผลงานที่ เกิดขึ้น ปัญหาอุปสรรค พร้อมข้อเสนอแนะ ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ และสำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอเป็นข้อมูลสำหรับรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้ง ให้บริหารประเทศในวาระต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3