2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ
81 ประโยชน์สาธารณะตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการผังเมือง การส่งเสริมและ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตร การปฏิรูปที่ดิน การจัดรูปที่ดิน การอนุรักษ์ โบราณสถานและแหล่งทางประวัติศาสตร์ การอุตสาหกรรม และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ดังนั้น การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะมีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของ บุคคล ก็ต่อเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนไว้ ซึ่งมาตรา 37 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดว่า “การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย...” เพราะฉะนั้น ระบบกฎหมายของประเทศไทยจึงกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นผู้พิจารณาในการให้ความเห็นชอบกระบวนการบังคับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนมาเป็น ของภาครัฐ ทั้งนี้ เนื่องจากการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้นจะต้องเป็นไปตาม เงื่อนไขที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และหากรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายที่ตราบังคับใช้ ก็ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม โดยต้องไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกิดสมควรแก่ เหตุและไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และหากจำเป็นจ้องจำกัดสิทธิและเสรีภาพก็ต้อง ระบุถึงเหตุผลความจำเป็นประกอบด้วย องค์กรนิติบัญญัติ (วรเจตน์ ภาคีรัตน, 2543) ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 26 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ดังต่อไปนี้ 1. ความพอสมควรแก่เหตุ เพื่อเป็นหลักในการกำหนดเกณฑ์ในการจำกัดการใช้อำนาจ ของรัฐไม่ให้เป็นไปตามอำเภอใจ ประกอบไปด้วยหลักการย่อยดังต่อไปนี้ 1.1 มาตรการองค์กรนิติบัญญัติที่ได้ตราขึ้นเป็นกฎหมายจะต้องมีความเหมาะสม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ “หลักความเหมาะสม” กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างมาตรการที่รัฐใช้ จำกัดหรือริดรอนสิทธิของประชาชนกับผลที่จะได้รับจากการใช้มาตรการนั้น 1.2 มาตรการองค์กรนิติบัญญัติตราขึ้นต้องมีความจำเป็นแก่การดำเนินการเพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ กล่าวคือ หากมีมาตรการที่เหมาะสมหลายมาตรการองค์กรนิติบัญญัติ จะต้องเลือกเอามาตรการที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนน้อยที่สุดมาบัญญัติไว้เป็น กฎหมาย 1.3 มาตรการองค์กรนิติบัญญัติตราขึ้นเพื่อเป็นกฎหมายในการบังคับใช้ นอกจากจะ เป็นมาตรการที่มีความเหมาะสมและจำเป็นแล้ว จะต้องเป็นมาตรการที่พอสมควรแก่เหตุภายใต้ “หลักความพอสมควรแก่เหตุ” กล่าวคือ เรียกร้องให้องค์กรนิติบัญญัติชั่งน้ำหนักประโยชน์ที่มหาชน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3