2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

82 จะได้รับประโยชย์และประโยชน์ที่เอกชนจะต้องสูญเสียไปอันเนื่องมาจากการปฏิบัติตามมาตรการ แห่งกฎหมายที่ต้องมีความเหมาะสมและมีความจำเป็น 2. หลักการคุ้มครองสารัตถะแห่งสิทธิและเสรีภาพของบุคคล เป็นหลักการที่ให้ความ คุ้มครองบุคคลเพื่อจำกัดการใช้อำนาจขององค์กรนิติบัญญัติในการตรากฎหมายไม่ให้เกิดผล กระทบกระเทือนต่อแก่นหรือสารัตถะของสิทธิและเสรีภาพได้ เพราะฉะนั้นกฎหมายฉบับใดที่ตราขึ้น แล้วส่งผลกระทบกระเทือนต่อสารัตถะแห่งสิทธิ กฎหมายดังกล่าวย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญ ต้องมีกระบวนการพิจารณาระดับความเข้มข้น ความรุนแรงของกฎหมายที่จำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลและลักษณะของสิทธิและเสรีภาพประกอบกัน ในการตรากฎหมายที่ถือได้ว่า กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ เช่น หากกฎหมายดังกล่าวพิจารณาโดยเนื้อหา แล้วมีการกำหนดเงื่อนไขให้บุคคลต้องปฏิบัติตามไว้โดยเคร่งครัดจนถึงขนาดที่ไม่มีบุคคลใดเป็นผู้ทรง สิทธิในสิทธิที่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้เลย กรณีดังกล่าวแม้จะเป็นกฎหมายที่มีลักษณะจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล แต่ก็ย่อมส่งผลในการตัดสิทธิ หรือเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่ มีผลกระทบกระเทือนถึงสาระสำคัญของสิทธิและเสรีภาพ อันยังมีผลบังคับใช้กฎหมายนั้นมิได้ 3. หลักการอ้างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมาย เพื่อใช้กับ กฎหมายที่ตราขึ้นภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้ว และส่งผลให้องค์กรนิติบัญญัติมี หน้าที่ในการระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ได้ให้อำนาจใรการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ในกฎหมาย ดังกล่าว การฝ่าฝืนไม่ระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายที่จำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคลจะส่งผลให้กฎหมายฉบับดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ 4. บทบัญญัติของมาตรา 26 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 วางหลักในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล องค์กรนิติบัญญัติ จะต้องตรากฎหมายให้มีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไปและไม่มุ่งหมายให้บังคับใช้ต่อกรณีใดกรณีหนึ่งเป็น การเฉพาะเจาะจง เนื่องจากเหตุผลสองประการ ประกอบไปด้วยเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ และการ ป้องกันมิให้เกิดเอกสิทธิ์และการเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งเป็นหลักการของการมีผล บังคับใช้เป็นการทั่วไปของกฎหมายและหลักการห้ามตรากฎหมายใช้บังคับเฉพาะกรณีและเป็นการ เฉพาะบุคคล ดังนั้น เมื่อได้พิจารณารัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้ กฎหมายซึ่งมีผลในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ต้องมีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไป เนื่องจากไม่ ต้องการให้องค์กรนิติบัญญัติออกคำสั่งทางปกครองเองในรูปของกฎหมาย โดยคำสั่งทางปกครองมี วัตถุประสงค์เพื่อใช้บังคับกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลที่ระบุจำนวนได้ หรือกับข้อเท็จจริง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3