2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

86 ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ส่งผลให้ได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความเป็นธรรมต่อเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน นอกจากนี้ยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อเสนอแนะปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ที่ 323/2565 ในประเด็นค่าทดแทนเงินอื่นนอกจากค่าที่ดิน และเงินเพิ่มค่าทดแทน ร้อยละสองของราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดเงินค่าทดแทนอื่นนอกจาก ค่าที่ดิน พ.ศ.2564 และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะ และเพิ่มสิทธิ ในการอุทธรณ์ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังกล่าว (ศุภคนธ์ ศุภกิจโกศล, 2565) สาริศา เพชรล้วน (2558) ศึกษาเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและการคืน กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ในปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายเกิดปัญหาในการบังคับใช้จากหลาย ๆ ส่วนของกฎหมายซึ่งกระทบต่อการคุ้มครองสิทธิและการคืนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้กับผู้ถูก เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายที่มิได้กำหนดสิทธิและการ คุ้มครองสิทธิ ตลอดจนไม่มีการกำหนดกระบวนการและหลักเกณฑ์ในการคืนสิทธิให้กับผู้มีสิทธิตาม กฎหมาย โดยนับตั้งแต่มีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวนั้น ยังมิได้มีการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง จึง ส่งผลให้เกิดปัญหาจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 อีก ทั้งการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวยังเป็นการขัดต่อหลักทฤษฎีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิอย่างชัดเจน โดยเมื่อได้พิจารณาพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 พบว่าไม่มี บทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าของที่ดินเดิมหรือทายาทของที่ดินเดิมมีสิทธิที่จะเรียกทรัพย์สิน คืนได้ หากปรากฎว่าทรัพย์สินที่เวนคืนมานั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยรัฐบังมิได้มีการใช้หรือกำลัง ใช้ตามวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนเพื่อกิจการต่าง ๆ ในการบริการสาธารณะของรัฐที่จำเป็นหรือเพื่อ ประโยชน์สาธารณะอื่นใดที่สำคัญและจำเป็นเช่นเดียวกัน แต่ในทางกลับกันรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการกำหนดให้กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุ วัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกำหนดระยะเวลาเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ให้ชัดแจ้ง หากมิได้ใช้ อสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวต้องส่งคืนให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือ ทายาท การคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทและการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้ เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาของบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และ เจตนารมณ์ของบทบัญญัติที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (สาริศา เพชรล้วน, 2558)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3