2566-2 นายธนิสร เกิดสม-การค้นคว้าอิสระ

88 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับกระบวนการในการใช้สิทธิ เรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎีและหลักกฎหมายเกี่ยวกับการ คุ้มครองและรับรองสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งของประเทศไทย และต่างประเทศ รวมทั้งปัญหาในทางกฎหมาย การดำเนินการกรณีศึกษาในการเรียกคืน อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนและควรกำหนดวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามสิทธิของประชาชนซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน เพื่อให้สิทธิในการเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนเกิดความเป็นธรรมและ สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงได้กำหนด ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Documentary Research) และวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยศึกษาผ่านแนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติธรรมกับการ บริการสาธารณะ สิทธิในทรัพย์สิน หลักและวิวัฒนาการของกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนที่ดิน ตลอดจน กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการศึกษาด้วยการทบทวนเอกสาร งานวิจัย บทความ วิทยานิพนธ์ ระเบียบ กฎหมาย คำพิพากษาต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาทำความเข้าใจและใช้เป็นหลักในการ อธิบายถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดหาที่ดินเพื่อการชลประทาน : กรณีศึกษาตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ซึ่งจะได้ศึกษาในหัวข้อต่าง ๆ หลัก ปฏิบัติที่ควรจะเป็นตามหลักสากลเกี่ยวกับกฎหมาย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การศึกษานี้กำหนดระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปจาก เอกสาร ทางวิชาการต่าง ๆ ตามประเด็นที่ต้องการใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ กฎหมายไทยเกี่ยวกับ การเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับการเวนคืนและได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ และ เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการทบทวนวรรณกรรมที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รวมทั้งรายงานวิจัย ตำรา และบทความที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3