2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

92 ตั้งแต่วันแรก ๆ ของการได้รับเรื่อง แต่กระบวนการจัดส่งพัสดุเอกสาร อาจจะมีขั้นตอนหลายอย่าง ทั้งอาจจะเกิดอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ทำให้เอกสารหลักฐานใหม่ที่ขอทบทวนมติ ส่งถึงคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเกินวันที่ 30 ทำให้ไม่สามารถขอทบทวนมติดังกล่าวได้ อันส่งผล กระทบต่อผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานราชการเป็นอย่างมาก ประเด็นนี้ก็เป็นการไม่สมเหตุสมผลหากจะต้องยึดถือหรือปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเวียน ดังกล่าวอีกเหตุผลหนึ่ง โดยในเรื่องของการส่งเอกสารหลักฐานไม่ว่าจะเป็นการยื่นคำให้การแก้คดี หรือการอุทธรณ์ต่าง ๆ นั้น ได้มีการวางแนวความเห็นในเรื่องของการนับระยะเวลายื่นเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ โดยวิธีการทางไปรษณีย์ไว้ตามบันทึกคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ 345/2548 ว่า “ในกรณีที่คู่กรณียื่นอุทธรณ์โดยส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์ ต้องถือ วันที่ส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์เป็นวันที่แสดงเจตนาอุทธรณ์มีผล ซึ่งอาจพิสูจน์ได้ตามข้อเท็จจริง อย่างใดอย่างหนึ่ ง เป็นต้นว่า วันที่ ที่ ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝากหรือประทับตรา รับซองหนังสือ” โดยเหตุผลในส่วนนี้เป็นอีกข้อที่สนับสนุนว่าแนวความเห็นตามหนังสือแจ้งเวียน ข้างต้นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นการออกมาที่ขัดต่อกฎหมายแม่บท และขัดต่อหลักการนับระยะเวลาในการส่งเรื่องเพื่อขอทบทวนมติ (บันทึกคณะกรรมการวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ 345/2548, 2548) 4.2 การเพิ่มมาตรการให้สิทธิผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดได้รับทราบมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อใช้สิทธิในการขอทบทวนมติก่อนที่จะมีคำสั่ง ลงโทษทางวินัยจะเป็นผลดีหรือไม่ การจำกัดสิทธิในการรับรู้มติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติชี้มูลความผิดทางวินัยแก่ผู้ถูกชี้มูลความผิดนั้น เห็นว่า เมื่อมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้เปิดโอกาสให้ ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการที่ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยสามารถที่จะขอทบทวนมติดังกล่าวได้แล้ว แต่ในระเบียบ กฎหมายดังกล่าว ไม่ได้มีการระบุถึงสิทธิของผู้ถูกชี้มูลความผิด ซึ่งเป็นผู้ถูกกระทบสิทธิ โดยตรงและเป็นผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยในการที่จะรับทราบมติการชี้ มูล หรือขอทบทวน มติดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเห็นว่าการปิดกั้ นการรับทราบมติและการขอทบทวนมติดังกล่ าว เป็นการจำกัดสิทธิที่ไม่สมควร ซึ่งการจำกัดสิทธิดังกล่าวยังเป็นการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ว่าการใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้น ต้องไม่กระทบกระเทือน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3