2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

93 หรือเป็นอันตรายต่อความมั่ นคงของประเทศ ไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความ สงบเรียบร้อยของประชาชนหรือของประเทศชาติ และไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น ประกอบกั บหากพิ จารณาถึ งสิ ทธิ ของผู้ ที่ อยู่ ระหว่ างการดำ เนิ นการทางวิ นัย หรือกระบวนการสอบสวนทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ก็ยังได้มีการเปิดโอกาสให้ข้าราชการผู้ที่ถูกสั่งลงโทษทางวินัย สามารถที่จะดำเนินการใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษที่ได้รับ หากเห็นว่าคำสั่งที่ถูกลงโทษนั้น ไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์ความร้ ายแรงแห่งการกระทำผิด หรือตนเองมิได้กระทำความผิด อันเป็นการเปิดโอกาสให้ข้าราชการผู้ที่ถูกสั่งลงโทษสามารถโต้แย้งเพื่อเป็นการแสดงความ บริสุทธิ์ หักล้างข้อกล่าวหา อันเป็นการรักษาสิทธิของตัวข้าราชการ ตามหลักการหลักนิติธรรม ทั้งยังเป็นหลักการ ถ่วงดุลอำนาจในการพิจารณากลั่ นกรองความผิดวินัยอีกชั้ นด้วย ซึ่ งแม้ว่าในการทบทวนมติ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น สามารถที่จะดำเนินการยื่นอุทธรณ์ คำสั่งลงโทษทางวินัยที่ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงจากรายงานสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นการยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) หรือต่อศาลปกครองชั้นต้น ในส่วนของข้าราชการพลเรือนสามัญ และในส่วน ของพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด คณะกรรมการพนักงาน ส่วนตำบล แต่การยื่นดังกล่าวเป็นเพียงการยื่นอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งในส่วนของคำสั่ งที่สั่ งลงโทษ ให้ตัวผู้ถูกชี้มูลความผิดซึ่งถูกสั่งให้พ้นจากราชการไปแล้ว โดยให้ไล่ออกจากราชการ เป็นการโต้แย้งคำสั่ง ซึ่งขณะโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ผู้ถูกชี้มูลความผิดได้ออกจากราชการไปแล้ว และขณะออกจากราชการ เพราะเหตุถูกไล่ออกจากราชการ เงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ ที่มีอยู่ก่อนถูกคำสั่งลงโทษไล่ออก จากราชการ รวมถึงเงินบำนาญ เงินบำเหน็จก็จะไม่สามารถที่จะได้รับ อันส่งผลกระทบต่อการ ดำรงชีพของผู้ที่ถูกสั่งลงโทษซึ่งกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างมาก และหากต่อมาภายหลังศาลปกครอง หรือองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ที่ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ อันเนื่องมาจากการสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมิได้มีการ กระทำการทุจริตหรือกระบวนการไต่สวนดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ ขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญซึ่งจะต้องปฏิบัติ หรือการไม่ปฏิบัติในสิ่งซึ่งกฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ แม้ว่าข้าราชการรายดังกล่าวจะสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้รับระหว่างถูกลงโทษไล่ออก จากราชการกลับคืน แต่ระยะเวลาขณะที่ต้องถูกออกจากราชการ ความเสียหายที่เกิดขึ้นทางใจ หรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างต้องออกจากราชการ ย่อมไม่สามารถที่จะกลับไปแก้ไขหรือเยียวยา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3