2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

94 ให้เป็นปกติได้ดังเดิมตามที่ควรจะเป็นได้อย่างแน่นอน และส่งผลกระทบต่อการขาดความก้าวหน้า ในตำแหน่งหน้าที่อีกด้วย และหากองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาคดีหรือศาลมีคำวินิจฉัยหรือพิพากษาว่า ข้าราชการผู้ถูกชี้มูลความผิดไม่ได้กระทำทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หน่วยงานต้นสังกัดจะต้องมีคำสั่ง ให้ข้าราชการรายดังกล่าวกลับเข้ารับราชการ รวมทั้งจะต้องดำเนินการชดใช้ค่าเสียหายให้กับ ข้าราชการราชดังกล่าวซึ่ งก็จะเป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงานต้นสังกัดอีกด้วย และการบริหารงานด้านบุคคลก็จะเกิดความยุ่งยากในการจัดสรรกรอบตำแหน่ง โดยผลจากการให้สัมภาษณ์เชิ งลึกของผู้ ปฏิบัติ งานด้านกฎหมายประจำหน่วยงานรัฐ และผู้บริหารของหน่วยงานรัฐ เห็นว่าการเปิดโอกาสให้กับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นในการ ที่จะได้รับทราบมติการชี้มูลความผิดทางวินัย ฐานความผิดทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือฐานความผิด ที่เกี่ยวข้องกัน จากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น เห็นว่าสมควร อย่างยิ่ ง เพราะการเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดได้รับทราบมติ เพื่อที่จะใช้สิทธิในการ ของทบทวนมติดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นการคุ้มครองสิทธิให้กับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ทั้งการที่เจ้าตัวได้รับทราบมติดังกล่าว อาจจะเป็นผลดีต่อตัวข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้บริสุทธิ์ ในการที่จะสามารถมีเวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะ ใช้สิทธิ ในการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่ อต่อสู้ คดี หรือเตรียมการรับมือด้านต่าง ๆ จากเหตุ อันเนื่องมาจากการถูกคำสั่ งลงโทษทางวินัยจากมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติที่ ไม่เป็นธรรม และไม่ถูกต้องหากจะต้องถูกออกจากราชการ อันเป็นการ ลดผลกระทบที่จะตามมาจากปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมหรือครอบครัวของผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด ประกอบกับผู้ให้สัมภาษณ์ทราบว่า บทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น มีอำนาจหน้าที่ ในการตรวจสอบการดำเนินการในส่วนของ หน่วยงานราชการ แต่บางครั้ งการชี้ มูลความผิ ดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติก็อาจจะมีการไต่สวนที่ไม่รัดกุมเพียงพอ หรืออาจจะเป็นการชี้มูลความผิดที่ไม่แน่ชัด หรือชัดเจนที่เพียงพอ โดยมุมมองของผู้ให้การสัมภาษณ์มองว่าในบางครั้ง การชี้มูลความผิดดังกล่าว เป็นการชี้ มูลความผิดไปก่อนหากเห็นว่ ามีส่วนเกี่ ยวกับการดำเนินการ โดยไม่ได้ตรวจสอบ หรือสอบสวนให้เกิดความชัดเจนว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นรายนั้น ได้มีส่วนในการทุจริต ร่วมด้วยจริง ๆ หรือไม่เพียงใด แต่การชี้มูลความผิดอาจจะเป็นการชี้มูลในลักษณะชี้รวมกันมา เป็นกลุ่มก้อนตั้งแต่เจ้าหน้าที่ระดับล่าง (เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ) จนถึงผู้มีอำนาจพิจารณาในองค์กร (ผู้ บริหาร) เพื่ อรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ โดยมองว่าหากผู้ ที่ ถูกชี้ มูลความผิดมิ ได้ กระทำความผิดจริง ก็ยังมีองค์กรศาลที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาอีกชั้นหนึ่งอยู่แล้ว และผู้ให้สัมภาษณ์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3