2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

95 มองว่าการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น มีผลผูกพัน ต่อองค์กรของรัฐ และกระทบสิทธิต่อข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ฉะนั้นแล้ว การเปิดโอกาสให้ผู้ถูกชี้มูลความผิดได้ทราบมติดังกล่าว เห็นว่าเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ประกอบกับ พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาและยื่นขอทบทวนมตินั้น ส่วนใหญ่แล้ว หน่วยงานราชการก็ไม่มีเอกสารหลักฐาน การที่ให้เจ้าตัวหรือผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดได้แสวงหาพยานหลักฐาน ด้วยตัวเองนั้น ย่อมจะมีประสิทธิภาพมากกว่าอันอาจจะส่งผลให้เกิดการกลับมติเดิมก็เป็นได้ ดั งนั้ น ผู้ วิ จัยเห็นว่ า เมื่ ออำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ เป็นหลักการดำเนินการที่ต้องการปราบปรามการทุจริต ตามหลักอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ประกอบกับองค์กรที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบพฤติกรรม ของเจ้าหน้าที่ รัฐในสาธารณรัฐสิงคโปร์ ต่างก็มีอำนาจหน้าที่ เช่นเดียวกับคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แต่หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตในสาธารณรัฐ สิงค์โปร์นั้น มิได้มีอำนาจเด็ดขาดในการชี้มูลความผิดแต่อย่างใด โดยเมื่อหน่วยงานดังกล่าวตรวจสอบ และพบมูลการกระทำความผิดแล้ว ก็จะต้องส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ที่กฎหมายกำหนดอีก ซึ่ งองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่อาจจะพิจารณาเห็นด้วยหรือเห็นต่าง จากหน่วยงานที่ตรวจสอบก็ได้ อันเป็นการสร้างหลักประกันการถ่วงดุลการตรวจสอบซึ่งกันและกัน เพื่ อพิ ทั กษ์ รั กษาสิ ทธิ ของประชาชน โดยหลั กการดำเนิ นการของคณะกรรมการป้ องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะต้องเปิดโอกาสให้กับข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดทางวินัย ได้รับทราบมตินั้น ก็เพื่อที่จะพิทักษ์สิทธิให้กับข้าราชการดังกล่าวในการต่อสู้หรือพิสูจน์ความบริสุทธิ์ อีกครั้ง ก่อนที่จะมีการดำเนินการทางปกครองอันเป็นการดำเนินการทบทวนมติก่อนออกคำสั่ง ทางปกครอง หากมีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินการย่อมไม่เป็นการยุ่งยาก และยังไม่ก่อ ผลกระทบหรือสร้างความเสียหายที่รุนแรงแก่ตัวข้าราชการผู้นั้น หากมีการแก้ไขระเบียบ กฎหมาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยสามารถรับรู้มติและสามารถที่จะขอทบทวนมติดังกล่าว ได้ย่อมเป็นการสร้างบรรทัดฐานในกระบวนการทางยุติธรรมที่แสดง ให้เห็นว่า มีหลักประกันสิทธิ ของผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดทางวินัย ทั้งกระบวนการไต่สวนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติเป็นกระบวนการที่มีการถ่วงดุล และมีหลักประกันสิทธิในการให้ความเป็นธรรม ตามหลักคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกดำเนินการทางวินัย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3