2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

96 4.3 หากมีการกำหนดขั้นตอน กระบวนการพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไว้ด้วยจะส่งผลดีอย่างไร การกำหนดระยะเวลา ขั้นตอนในการพิจารณาทบทวนมติกรณีข้าราชการพลเรือนถูกชี้มูล ความผิดทางวินัย มีประเด็นปัญหาที่จะต้องวิเคราะห์ถึงการพิจารณาในข้อ 4.3.1 และข้อ 4.3.2 ดังนี้ 4.3.1 ระยะเวลา ขั้นตอนการทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ มาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 ได้กำหนดถึง ฐานอำนาจและวิธีการในการที่ให้อำนาจแก่ผู้บังคับบัญชา ของข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยสามารถที่จะใช้สิทธิในการขอทบทวนมติดังกล่าวได้ ประกอบกับตามหนังสือแจ้งเวียนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ ปช 0026/ ว 0028 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 เป็นการกำหนดแนวทางรวมถึงวิธีการพิจารณา พยานเอกสารและระยะเวลาในการจัดส่งเอกสารหลักฐานเพื่อทบทวนมติเท่านั้น โดยบทบัญญัติของ กฎหมายรวมถึงระเบียบ และหนังสือสั่งการดังกล่าว มิได้กำหนดระยะเวลา วิธีการ ในการพิจารณา การทบทวนมติดังกล่าวไว้แต่อย่างใด ผู้ วิจัยเห็นว่าการที่ระเบียบ หนังสือสั่ งการ รวมถึงการที่ บทบัญญัติของกฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาทบทวนมติไว้ย่อม ไม่เป็นธรรม กับผู้ ที่ ถูกชี้ มูลความผิดทางวินัย รวมถึงผู้ ที่ ถูกชี้ มูลความผิดทางวินัยจากคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แต่ไม่สามารถที่จะทราบมติดังกล่าว และไม่มีการพิจารณาทบทวน มติดังกล่าว เพราะหากวิเคราะห์จากบทบัญญัติของมาตรา 98 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 จะวิเคราะห์ได้ว่า กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้มีมติชี้ มูลความผิดทางวินัย อย่างร้ายแรง ฐานความผิดทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือฐานความผิดที่ เกี่ยวข้องอีก 3 สถาน ตามนัยมาตรา 91 (2) ประกอบมาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ซึ่งโดยปกติหากไม่มีการทบทวนมติการชี้มูลความผิดดังกล่าว ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการที่ถูกชี้มูล ความผิดจะต้องถือเอาสำนวนรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติเป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยและสั่ งลงโทษภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ ได้รับรายงานการไต่สวน อันส่งผลให้ข้าราชการรายดังกล่าวจะต้องถูกลงโทษ โดยถูกสั่งให้ไล่ออก หรือพ้นจากราชการภายใน 30 วัน โดยที่ไม่สามารถที่จะโต้แย้งใด ๆ ได้เลย และถูกพ้นจากตำแหน่ง หน้าที่ราชการโดยไม่มีการรู้ตัว หรือเตรียมการวางแผนการใช้ชีวิตจากการที่จะต้องพ้นจากหน้าที่ราชการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3