2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
97 แต่หากเป็นกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติชี้มูล ความผิดทางวินัยกับข้าราชการในฐานตามข้างต้นแล้ว หากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรายดังกล่าว ได้พิจารณาและสั่งการให้มีการทบทวนมติการชี้มูลความผิด ก็จะดำเนินการส่งเรื่องพร้อมเอกสาร หลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นเอกสารพยานหลักฐานเก่า พยานเอกสารหลักฐานใหม่ หรือความเห็นจาก หน่ วยงานราชการเพื่ อขอทบทวนมติ ในการกลั บมติ เดิ ม ซึ่ งขณะที่ คณะกรรมการป้ องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาทบทวนมติดังกล่าวนั้น ผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดรายดังกล่าว ก็ยังไม่ต้องออกจากราชการ ยังคงสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ตามปกติ มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งหรือสวัสดิการต่าง ๆ อย่างเดิมเป็นปกติอยู่ เพราะตามนัยมาตรา 98 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับข้างต้น ได้บัญญัติไว้ว่า “การดำเนินการทางวินัย ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนพิจารณาสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนได้รับแจ้งมติที่ได้ขอให้คณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พิจารณาทบทวนตามมาตรา 99 วรรคสอง ทั้ งนี้ ไม่ว่าผู้ถูกกล่าวหานั้น จะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนหรือหลังที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้มีมติวินิจฉัยมูลความผิด เว้นแต่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะมีมติเมื่อพ้นกําหนดเวลาตามมาตรา 48 แล้ว” ซึ่งจะแตกต่างกับ รายที่ผู้บังคับบัญชาไม่มีการทบทวนมติ ประกอบกับในปัจจุบันการพิจารณาทบทวนมติดังกล่าว ยั งมีกระบวนการที่ ไม่ชัดเจน จึ งไม่สามารถที่ จะกำหนดระยะเวลาที่ เหมาะสมหรื อขั้ นตอน ของระยะเวลาในการพิจารณาทบทวนมติเพื่อให้ผู้ถูกชี้มูลความผิดได้ทราบ ประเด็นนี้แสดงให้เห็นว่า การที่ผู้ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยไม่ทราบมติการชี้มูลความผิด และผู้บังคับบัญชาก็ไม่ได้มีการพิจารณาให้ทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ ย่อมไม่เป็นธรรมอย่างมากต่อข้าราชการผู้ที่ ไม่ทราบมติ เพราะรายที่ ไม่มี การทบทวนมติดังกล่าว จะต้องถูกออกจากราชการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับมติ แต่รายกรณีที่มี การทบทวนมติจะต้องพิจารณาสั่งลงโทษภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจ แต่งตั้งถอดถอนได้รับแจ้งมติที่ได้ขอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พิจารณาทบทวนตามมาตรา 99 วรรคสอง ซึ่งระยะเวลาการพิจารณาทบทวนมติดังกล่าว ก็ไม่ทราบ แน่ชัดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จห้วงเวลาใด เพราะปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมาย หรือระเบียบ ใด ๆ มารองรับในกระบวนการพิจารณาทบทวนมติดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น ผู้ วิจัยจึงเห็นว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3