2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้มีองค์กรอิสระขึ้นมา เพื่ อดำเนิ นการตรวจสอบการทำงานของรั ฐ โดยคณะกรรมการป้ องกั นและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติหรือที่ เรียกว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นหนึ่งในองค์กรตามที่รัฐธรรมนูญ แห่งราชการอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้เป็นองค์กรอิสระ มีหน้าที่และอำนาจ ในการไต่สวน และมีความเห็นกรณีกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ ดำรงตำแหน่ งในองค์ กรอิ สระหรื อผู้ ตรวจการแผ่ นดิ น กรณีมีพฤติ การณ์ร่ ำรวยผิ ดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริต ต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามมาตรา 234 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยมีการกำหนดขั้นตอน วิธีการและรวมถึงระยะเวลาในการไต่สวนไว้ ซึ่ งจะมีลักษณะเป็นการแสวงหาพยานหลักฐาน รวบรวมหลักพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ งข้อเท็จจริง และการรวบรวมพยานหลักฐาน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริ ตแห่ งชาติ จะเป็นการค้นแสวงหาไม่ ว่า พยานหลักฐานนั้น จะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งจะแตกต่างจากการรวบรวมหรือค้นหา พยานหลักฐานในประมวลกฎหมายอาญา (ธนิตา ศรีครินทร์ และสัญญาพงศ์ ลิ่มประเสริฐ, 2565) ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ออกโดยอาศัยอำนาจของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดหน้าที่และอำนาจ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไว้ แต่เนื่องจากด้วยปริมาณคดีที่มาก เกินกำลังในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ประกอบกับมีปัญหาติดขัดในกระบวนการทำงาน ส่งผลทำให้คดีขาดอายุความ กระทบต่อความเชื่อมั่นในการตรวจสอบความโปร่งใสของหน่วยงานรัฐ ในปี พ.ศ. 2561 จึงได้มีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดิม จนกลายเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 (สถาพร ภักดีวงศ์, 2563) ปั จจุ บั นประเทศไทยและนานาประเทศต่ างเผชิ ญกั บปั ญหาการทุ จริ ตคอรั ปชั่น (Corruption) ในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ นำมาซึ่ งความถดถอยของประเทศและเป็นการ ถ่วงความเจริญก้าวหน้าส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชนในสังคม อย่างชัดเจน (เริงศักดิ์ วิริยะชัยวงศ์, 2561) การทุจริตคอรัปชั่น จึงเป็นปัญหาที่สำคัญในระบบราชการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3