2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
100 รู้ได้เลย และยิ่งกฎหมายมิได้ให้อำนาจในการเปิดเผยไว้ ก็ย่อมไม่สามารถที่จะเปิดเผยได้ หากหน่วยงาน ราชการฝ่าฝืนเปิดเผยไปก็อาจจะเป็นการกระความผิดในทางวินัยและทางอาญาเสียเองได้ แต่อย่างไรก็ตามความเห็นจากการบุคคลผู้ให้สัมภาษณ์เห็นตรงกันว่า การเปิดโอกาส ให้กับข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น ควรจะกำหนดไว้ในระเบียบหรือกฎหมายเพื่อให้มีความชัดเจนและเป็นแนวทางปฏิบัติที่เกิดความ เป็นธรรมต่อผู้ถูกชี้มูลความผิด ซึ่งการเปิดโอกาสให้มีการทบทวนมติเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้ เกิดความเที่ยงธรรมต่อผู้ถูกชี้มูลความผิด และลดผลกระทบที่จะตามมาไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจาก ผู้ถูกชี้มูลความผิดที่จะต้องถูกออกจากราชการโดยไม่เป็นธรรม หรือผลกระทบต่อหน่วยงานราชการ ที่จะต้องสูญเสียบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการไปโดยข้าราชการผู้นั้นไม่ได้กระทำความผิด หรือหน่วยงานราชการอาจจะต้องชดใช้ค่าตอบแทนต่าง ๆ อันเกิดจากคำสั่งที่หน่วยงานราชการ มีคำสั่งตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยผู้ให้ข้อมูลมีข้อเสนอ ในเรื่องของการทบทวนมติดังกล่าวว่า “เมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้แจ้งไปยังหน่วยงานราชการต้นสังกัดได้ทราบมติดังกล่าว และให้หน่วยงาน ราชการแจ้งสิทธิในการขอทบทวนมติดังกล่าว ให้กับผู้ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยได้ทราบ เพื่อหาพยานเอกสาร ในการทบทวนมติดังกล่าวภายในกำหนดเวลาตามที่ระเบียบกฎหมายกำหนด” แต่ก็มีข้อเสียในการที่ เปิดโอกาสให้กับผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดได้รับทราบมติดังกล่าวกล่าวคือ จะเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการพิจารณากลั่นกรองเพื่อเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชา ในการพิจารณา ขอทบทวนมติดังกล่าว ซึ่ งแน่นอนว่าเป็นการเพิ่มภาระงานที่มากยิ่ งขึ้นต่อหน่วยงานราชการ โดยประเด็นของการเพิ่มขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาเพื่อทบทวนมติกรณีนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ มองว่าควรที่จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวไว้ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดผลดีต่อระบบการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อันจะส่งผลให้การพิจารณาเรื่องดังกล่าว เป็นการพิจารณาที่ ได้มาตรฐาน มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติ ที่เท่าเทียมกัน อันสอดคล้องกับหลักแนวคิดในเรื่องที่หน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการภายใต้ หลักการมีกฎหมายให้อำนาจจึงสามารถที่จะดำเนินการต่าง ๆ ได้ 4.3.2 มติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ชี้มูลความผิดทางวินัยว่า เจ้าหน้าที่รัฐกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อบ.215/2558 คดีหมายเลข แดงที่ อบ 94/2563 วินิจฉัยกรณีที่ หน่วยงานราชการ มีคำสั่ งลงโทษทางวินัยอย่างร้ ายแรง กับผู้ ใต้บังคับบัญชามีคำสั่ งให้ ไล่ออก ปลดออกจากราชการ ตามมติการชี้ มูลความผิดของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3