2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
101 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ฐานความผิดปฏิบัติ หรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต ต่อหน้าที่ราชการ ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบของ ทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง และฐานกระทำการอันได้ชื่ อว่า เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 82 วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง และมาตรา 98 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ซึ่ งศาลปกครองสูงสุด พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ถูกสั่งลงโทษทางวินัยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงในฐาน ความผิดดังกล่าว จึงได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยดังกล่าวนั้น ผู้ วิจัยได้วิ เคราะห์ถึงผลกระทบจากการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติได้มีมติชี้มูลความผิดผู้ฟ้องคดีซึ่ งเป็นข้าราชการพบว่า กระทำการทุจริตต่อ หน้าที่ราชการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดข้างต้น แม้มติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดังกล่าวจะมิได้เป็นคำสั่งทางปกครองที่ก่อให้เกิดการกระทบสิทธิ ของผู้ฟ้องคดีโดยตรง แต่มติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผูกพันหน่วยงานของรัฐที่จะต้องดำเนินการ และต้อง ปฏิบัติตามมติดังกล่าวอย่างไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้ หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐจะมีความเห็นต่าง หรือเห็นแย้งว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้กระทำการทุจริตแต่อย่างใด โดยในส่วนของข้อเท็จจริงนั้นเป็นการ ต้องห้ามเปลี่ยนแปลงตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2546 แม้หน่วยงานของรัฐเห็นว่า ผู้ ฟ้องคดีไม่ ได้กระทำการทุจริตก็ตาม ก็ ไม่สามารถที่ จะเปลี่ ยนแปลงฐานคว ามผิดดั งกล่ าวได้ เพียงแต่สามารถใช้ดุลยพินิจในการกำหนดลดระดับโทษได้เท่านั้น ซึ่ งจากคำพิพากษาดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีถูกสั่งลงโทษทางวินัยโดยให้ไล่ออกจากราชการตั้งแต่วันที่วันที่ 29 ธันวาคม 2549 แม้ต่อมา จะได้รับการลดโทษจากไล่ออกเป็นปลดออกจากราชการในวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 โดยระยะเวลา 1 ปีกว่า ที่กว่าจะมีการลดระดับโทษจากไล่ออกเป็นปลดออกนั้น ช่วงระยะเวลาดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีก็จะ ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการต่าง ๆ เงินบำเหน็จบำนาญก็จะไม่ได้รับเพื่อใช้จ่ายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้มีการพิจารณาคดีและมีคำพิพากษาว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้กระทำ การทุจริตในวันที่ 17 มิถุนายน 2563 ซึ่ งระยะเวลาตั้ งแต่ที่ผู้ ฟ้องคดีต้องออกจากราชการไป และสามารถกลับเข้ารับราชการใหม่ได้ในห้วงของภายหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา คิดเป็นระยะเวลานานถึงประมาณ 13 ปีเศษ ระยะเวลาดังกล่างที่ผู้ฟ้องคดีต้องออกจากราชการไปนั้น ผู้ฟ้องคดีย่อมจะต้องได้รับผลกระทบต่าง ๆ มากมาย ทั้งสถานะทางการเงิน ตำแหน่งหน้าที่ราชการ หน้ าตาในสั งคม หรื อแม้ กระทั้ งการเสี ยหายจากทางจิ ตใจ เหตุ อันเนื่ องมาจากการชี้ มูล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3