2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
102 ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งเห็นว่าการพิจารณาในแต่ละคดีนั้น ย่อมใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างนานกว่าจะพิสูจน์ถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาในแต่ละคดี ดั งนั้ น การมีมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริ ตแห่ งชาติ ควรที่จะต้องดำเนินการให้มีความรัดกุมในการมีมติ หรือจะต้องมีการเปิดโอกาสให้มีการโต้แย้งมติ ดังกล่าวจากหน่วยงาน หรือผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องได้ เพราะการจะกลับมติหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข มติ ก่อนที่จะมีการดำเนินการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยนั้น ยังสามารถที่จะกระทำได้อยู่ไม่เป็นก าร ดำเนินการที่ยุ่งยาก เพราะถือว่าเป็นการดำเนินการที่เกิดจากหน่วยงานทางฝ่ายปกครองเอง ทั้งยัง เป็นการที่ยังไม่ยากแก่การเยียวยาความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นจากการชี้มูลของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งกรณีตามคำพิพากษาดังกล่าวนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีต้องออกจากราชการ แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่ออาชีพและความก้าวหน้าในอาชีพ ทั้งชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ฟ้องคดี ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เพราะเหตุที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากการที่ต้องออกจาก ราชการไปโดยที่ มิได้กระทำความผิด ฐานทุจริตต่อหน้าที่ ราชการหรือเ จตนาแห่งการกระทำ มิได้กระทำไปโดยมีเจตนาอันเป็นการกระทำทุจริตต่อหน้าที่ราชการแต่อย่างใด ซึ่งแนวคำพิพากษา ของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว ประกอบกับความเห็นของผู้วิจัยเห็นว่า มติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ไม่มีการเปิดโอกาสให้กับข้าราชการได้ใช้สิทธิในการโต้แย้ง หรือทบทวนมติตามที่กฎหมายกำหนดนั้น เป็นการขัดต่อหลักการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ เพื่อไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิที่เกินควร โดยสถานะของรัฐธรรมนูญนั้น ย่อมถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดตามหลักความเป็นสูงสุดของกฎหมาย โดยระเบียบหรือกฎหมายอื่นใดที่แย้งกับกฎหมายสูงสุด การนั้นย่อมใช้บังคับมิได้ ดังนั้น หลักการใด ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนที่เกินควรและไม่สมเหตุสมผล หลักการ หรือระเบียบ แนวคิด ดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นการใช้บังคับมิได้ตามหลักทฤษฎีหลักความเป็นกฎหมายสูงสุด ทั้งยังเป็นการ ขัดต่อหลักหลักนิติรัฐ นิติธรรม และหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3