2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
104 และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ชี้มูลความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการแล้ว หน่วยงานจะต้อง ถือพฤติการณ์และข้อเท็จจริงพร้อมความเห็นฐานการกระทำความผิด และพิจารณาดำเนินการ สั่งลงโทษตามนัยของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นฐานอื่นได้ ซึ่งจะเห็นว่า ระดับโทษดังกล่าว โทษไล่ออกจากราชการเป็นระดับโทษที่รุนแรง กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ ของข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด การที่ไม่เปิดอากาสให้ข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดได้ทราบ มติดังกล่าวเพื่อใช้สิทธิในการขอทบทวนมติตามสิทธิซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 99 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือทบทวน มติดังกล่าวเป็นการดำเนินการก่อนออกคำสั่งทางปกครองยังไม่มีผลกระทบสิทธิใด ๆ แก่ข้าราชการ ผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด ซึ่งบางครั้งการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ อาจจะเกิดความผิดพลาด หรือประเด็นต่าง ๆ อาจจะคลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง ด้วยที่พยานเอกสาร พยานบุคคลไม่ครบถ้วนหรือมีพยานจำนวนเยอะ ทำให้การพิจารณาไม่สามารถ พิจารณาได้ครอบคลุมในทุกประเด็น หากมีการเปิดโอกาสให้ใช้สิทธิในการขอทบทวนมติเพื่อโต้แย้ง กระบวนการ โต้แย้งพยานหลักฐาน อาจจะเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด โดยข้าราชการรายดังกล่าวอาจจะเป็นผู้ที่มิได้กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ราชการแต่อย่างใดก็ได้ ผลจากการศึกษาในประเด็นของหนังสือแจ้งเวียนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ ที่ ปช 0026/ ว 0028 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ตามที่ได้มีการวางแนวทาง การเสนอพยานหลักฐานใหม่และการใช้สิทธิในการพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 25621 ที่ กำหนดให้ต้องมีหนังสือพร้อมเอกสาร และพยานหลักฐาน ส่งถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องนั้น พบว่าระยะเวลาดังกล่าวเป็นการขัดต่อมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เพราะในมาตรา 99 ดังกล่าว มีเจตนารมณ์ในการกำหนดระยะเวลาเพียงแต่ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาและดำเนินการจัดส่ง การทบทวนมติภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ โดยมิต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เอกสารจะถึงสถานที่ผู้รับปลายทาง ประกอบกับ การเปิดโอกาสให้ข้าราชการผู้ถูกชี้มูลความผิดได้ทราบมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาตินั้ น เป็นการพิทักษ์รั กษาสิทธิ และเป็นการคุ้ มครองหรื อให้หลักประกัน ความเป็นธรรมในการพิจารณาทางปกครองอีกชั้น เพื่อป้องกันผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการใช้อำนาจทางปกครอง ซึ่งส่งผลกระทบที่มีความรุนแรงต่อตัวข้าราชการผู้ที่เสียสละกำลังกาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3