2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
105 กำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อบริการประชาชน ทั้ง การกำหนดขั้นตอนในเรื่ องของ กระบวนการพิจารณาการขอทบทวนมติดังกล่าวนั้น ก็ควรจะมีการกำหนดขั้นตอนรวมถึงระยะเวลา ต่าง ๆ ไว้ ให้ชัดเจนเพื่ อมิให้เกิดความลักลั่ น หรือมีช่องว่างในการปฏิบัติอันอาจจะส่งผลให้ เกิดการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อข้าราชการผู้ถูกที่ชี้มูลความผิด ประกอบกับเพื่อให้การดำเนินการ ในเรื่องของการทบทวนมติดังกล่าว มีความสอดคล้องกับหลักแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ตามที่กล่าวมา ในบทที่ 2 ไม่ว่าจะเป็นหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงหลักการ ตามหลักสากล ซึ่งผู้วิจัยจะกล่าวขยายความในอภิปรายผลลำดับถัดไป 5.2 อภิปรายผล จากการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในเรื่องการขอทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 พบว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับดังกล่าว มีเจตนารมณ์เพื่อมุ่งคุ้มครองสิทธิของข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยในการยื่น พยานเอกสารหลักฐานเพื่อขอทบทวนมติ แต่เนื่ องจากหนังสือแจ้งเวียนแนวทางของสำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ ปช 0026/ว 0028 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 เรื่อง แนวทางการเสนอพยานหลักฐานใหม่ของผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ งถอดถอน เพื่ อขอให้ พิ จารณาทบทวนมติ คณะกรรมการป้ องกั นและปราบปรามการทุ จริ ตแห่ งชาติ ตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 แนวทางที่ออกในเรื่องของระยะเวลาในการจัดส่งพยานเอกสารหลักฐานขัดต่อบทบัญญัติ ของกฎหมายแม่บท และการพิจารณาของคำว่าพยานหลักฐานใหม่ยังไม่ครอบคลุมถึงพยานหลักฐาน อันเกิดจากการดำเนินการที่ ไม่ชอบจากกระบวนการไต่สวนอันเป็นการสร้างความไม่เป็นธรรม ต่ อข้ าราชการผู้ ถูกชี้ มู ลความผิ ดทางวิ นั ย ประกอบกับนั ยมาตรา 99 หรื อบทบัญญัติ ของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มิได้กำหนดการแจ้งสิทธิการรับทราบมติดังกล่าว รวมถึงขั้นตอนกระบวนการพิจารณาการทบทวนมติ ทำให้ถือได้ว่ า พระราชบัญญัติประกอบรั ฐธรรมนูญฉบับดั งกล่ าวเป็นการไม่คุ้ มครองสิ ทธิ ของข้าราชการซึ่งถือว่าเป็นประชาชนคนหนึ่ง ส่งผลให้บทบัญญัติของกฎหมายเกิดข้อบกพร่อง จึงต้องดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติม หรือสร้างระเบียบขึ้นมาคุ้มครอง เพื่อให้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว มีแนวปฏิบัติตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มุ่งคุ้มครองสิทธิ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3