2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
107 1. ประเด็นในเรื่องการพิจารณาทบทวนพยานเอกสารหลักฐาน โดยพยานเอกสาร หลักฐานที่ส่งเพื่อทบทวนนั้น จะต้องเป็นพยานเอกสารหลักฐานใหม่ที่ไม่เคยปรากฏในรายงานสำนวน การไต่สวน ประเด็นนี้ผู้วิจัยเห็นว่า ตามแนวทางของหนังสือแจ้งเวียนของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ ปช 0026/ ว 0028 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ได้ระบุกำหนด ไว้แต่เพียงว่า พยานหลักฐานใหม่หมายถึง “พยานหลักฐานที่ยังไม่เคยปรากฏในรายงานสำนวน การไต่สวนข้อเท็จจริงที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติชี้มูลเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่รวมถึงการกลับคำให้การของพยานในสำนวนรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง ดังกล่าว นอกจากนี้ ต้องเป็นพยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่รัฐผู้ถูกกล่าวหาไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ ว่ าพยานหลั กฐานดั งกล่ าวนั้ นมี อยู่ ก่ อน และต้ องนำมาแสดงเพื่ อประโยชน์ ของตนเอง” โดยกระบวนการทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามข้างต้น เห็นว่า เจตนารมณ์ในการที่จะสามารถขอทบทวนมติดังกล่าวได้นั้น จะมุ่งเน้นไปที่การมีพยานเอกสาร หลักฐานใหม่เป็นหลัก และพยานเอกสารหลักฐานใหม่ดังกล่าวจะต้องไม่ปรากฏอยู่ในรายงานสำนวน การไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยมิได้รวมถึงการเปิดโอกาส ให้ผู้บังคับบัญชาสามารถใช้สิทธิในการยื่นโต้แย้งทบทวนมติในส่วนของข้อเท็จจริง หรือรวมถึงการโต้แย้ง พยานเอกสารหลักฐานเก่า ซึ่งเป็นการได้พยานหลักฐานดังกล่าวมาโดยวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกระบวนการแสวงหาพยานหลักฐานดังกล่าวเกิดขึ้นโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ หรือเกิดจากการปลอมแปลง โดยหากพิจารณาประเด็นนี้ในส่วนของการยื่นทบทวนมติเพียงเฉพาะแต่สิ่งที่ สามารถยื่นได้เฉพาะแต่เพียงการกำหนดให้ยื่นพยานเอกสารหลักฐานใหม่เท่านั้น ย่อมเป็นการขัดต่อ หลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม และขัดต่อหลักลำดับความศักดิ์สิทธิของกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดหลักการ การให้สิทธิแก่ประชาชนทุกคนว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิ และเสรีภาพอย่ างเท่าเทียมกัน มีสิทธิที่ จะได้รับความคุ้ มครองจาก กระบวนการยุติธรรม มีสิทธิที่จะแสดงความบริสุทธิ์หรือพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองได้เต็มที่ และผู้ต้องหา หรือผู้ถูกกล่าวหายังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล ประกอบกับ เมื่อมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้เปิดโอกาสให้สิทธิกับผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้ถูกชี้มูลความผิดสามารถที่จะ ยื่นพยานเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เพื่อโต้แย้งมติได้แล้ว ก็ควรที่จะเปิดโอกาสให้มีการพิจารณาพยาน เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของเจ้าหน้าที่รัฐมิให้ได้รับ ผลกระทบที่ยากแก่การแก้ไขเยียวยาที่เกินควร ทั้งเมื่อบทบัญญัติของกฎหมายแม่บทใน เรื่องนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3