2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

108 ก็มีเจตนารมณ์ที่มุ่งคุ้มครองเพื่อให้สิทธิแก่ข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด การที่หนังสือแจ้งเวียน แนวทางดังกล่าวได้ออกมา ซึ่ งเป็นการออกมาที่ มีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิของข้าราชการ ย่อมเป็นการขัดต่อหลักการข้ างต้น ประกอบกับความเห็นของผู้ ให้สัมภาษณ์ต่างให้ข้ อมูล ในทำนองเดียวกันกับแนวคิดที่ผู้วิจัยได้กล่าวไปข้างต้น ว่าการเปิดโอกาสให้ข้าราชการผู้ถูกชี้มูล ความผิดได้ทราบมตินั้ น เป็นสิ่ งที่ ควรจะต้องดำเนินการ เพื่ อไม่ ให้ เป็นการสร้ างผลกระทบ ต่อข้าราชการที่เกินควร และเพื่อให้ข้าราชการได้รู้ตัว ส่งผลให้มีเวลาในการชี้แจงต่อสู้แก้ข้อกล่าวหา 2. การดำเนินการส่งเรื่องดังกล่าวต้องมีหนังสือพร้อมเอกสารและพยานหลักฐาน ส่งถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องนั้น ประเด็นนี้ผู้วิจัยเห็นว่า ตามแนวทางการพิจารณาดำเนินการตามหนังสือของสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ ปช 0026/ ว 0028 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ที่ระบุให้มีการ ส่งพยานเอกสารหลักฐานใหม่ถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ ได้รับเรื่ องนั้น จากการศึกษาค้นคว้าเห็นว่า แนวทางการดำเนินการดังกล่าวเป็นการ ขัดต่อบทบัญญัติ ในมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรั ฐธรรมนูญว่ าด้วยการป้ องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เพราะบทบัญญัติของนัยมาตราดังกล่าวมีเจตนาในการที่จะให้ ยื่นเรื่องพยานเอกสารหลักฐานใหม่โดยทบทวนและดำเนินการจัดส่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับ โดยมิได้ระบุหรือกำหนดระยะเวลาในการส่งถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการการทุจริต แห่งชาติแต่อย่างใด โดยหลักการพิจารณาในเรื่องของระยะเวลาในการจัดส่งเอกสารหลักฐานในการ ขอทบทวนมตินั้ น คณะกรรมการวิ ธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ได้วางหลักการพิจารณาไว้ ในเรื่องเสร็จที่ 345/2548 โดยการนับระยะเวลาในการจัดส่ง คือนับระยะเวลาวันที่แสดงเจตนา ที่แท้จริงหรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝาก หรือประทับตรารับซองหนังสือโดยมิต้อง คำนึงถึงระยะเวลาในการจัดส่งถึง จึงกล่าวได้ว่า หากผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาทบทวนมติ ในเรื่องดังกล่าวพิจารณาดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดคือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องแล้ว และหากมีการนำส่งในวันที่ 29 หรือวันที่ 30 โดยมีการประทับตรารับซองหนังสือของที่ทำการ ไปรษณีย์ ไว้ ย่อมถือว่ าการส่ งทบทวนมติดั งกล่ าวเป็นการดำเนินการที่ ชอบด้วยบทบัญญัติ ของกฎหมาย ซึ่ งจากแนวทางดังกล่าวสร้างความสับสนและเป็นแนวทางที่ ขัดต่อทฤษฎีลำดับศักดิ์ ของกฎหมาย ที่ระเบียบหรือกฎ ที่ออกมานั้นจะต้องไม่เป็นการออกมาขัดหรือแย้งต่อกฎหมายแม่บท และจะต้องออกมาเพื่ออธิบายขยายความ ให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น มิใช่ออกมาแล้วสร้างความสับสน หรือความคลุมเครือ และสร้างปัญหาติดขัดในการดำเนินการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3