2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

109 5.2.2 การเพิ่มมาตรการในการให้สิทธิผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดในการได้รับทราบมติ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อใช้สิทธิในการขอทบทวนมติ ก่อนที่จะมีคำสั่งลงโทษทางวินัยนั้น จากการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้พบว่า การเพิ่มสิทธิให้กับข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูล ความผิดทางวินัยจากการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฐานความผิดต่อตำแหน่ง หน้าที่ในการยุติธรรม หรือฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกัน ย่อมจะเป็นผลดีต่อต่อระบบราชการและไม่ เป็นการขัดต่อหลักการที่ บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยพิจารณาในทางที่ เป็นผลดีต่อระบบราชการได้ ว่ า เมื่ อข้าราชการผู้ ที่ ถูกชี้ มูลความผิด จากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ทราบมติดังกล่าว และได้ดำเนินการ ยื่นขอทบทวนมติต่อผู้บังคับบัญชาในการพิจารณาพยานเอกสารหลักฐานนั้น ระหว่างที่ได้มีการยื่น พยานเอกสาร ข้าราชการรายที่ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยก็ยังคงถือว่าเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ และยังคง รับราชการทำงานในตำแหน่งหน้าที่ เดิมโดยไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิหน้าที่ของข้าราชการ รายดังกล่าวแต่อย่างใด อันเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับข้าราชการรายดังกล่าวได้อยู่ในระบบ ราชการเพื่ อดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะเพื่ อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ทั้งหน่วยงานราชการก็ไม่ต้องมาสร้างหรือจัดสรรบุคคลเพิ่ม อันอาจจะต้องใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน ในการที่จะสร้างความชำนาญในการปฏิบัติงาน ซึ่งการเพิ่มมาตรการในการให้ข้าราชการผู้ที่ถูก ชี้มูลความผิดได้รับทราบมตินั้น เป็นการพิทักษ์สิทธิให้กับข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดตามหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักการดำเนินการทางปกครอง และหลักการคุ้ มครองสิทธิตามที่ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราชการ 2560 กำหนดไว้ด้วย เพราะการที่สามารถรับทราบมติ ดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึง การรับรู้ข้อกล่าวหา การรับรู้ถึงพยานเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เป็นสิ่ง สนับสนุนในการปรักปรำว่า ข้าราชการรายที่ถูกชี้มูลความผิดได้กระทำความผิดในเรื่องใด พฤติการณ์ แห่งการกระทำเป็นเช่นใด และได้รู้ ข้อเท็จจริ งเบื้ องต้น ย่อมจะเป็นการเปิดโอกาสให้สิทธิ กับข้าราชการรายดังกล่าวสามารถโต้แย้งความบริสุทธิ์ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งการโต้แย้งมติดังกล่าว เป็นการโต้แย้งในลักษณะก่อนที่จะมีคำสั่งทางปกครอง ซึ่งการแก้ไขเยียวยาหรือผลกระทบที่ตามมา ยังไม่ยากแก่การแก้ไขเยียวยาแต่อย่างใด อีกทั้งจะส่งผลให้ลดภาระในการพิจารณาอรรถคดีในชั้นศาล หรือองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอีกด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3