2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

2 อีกประการหนึ่ง อันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่งผลให้ประชาชนผู้รับบริการสาธารณะ และผู้ เป็นเจ้าของเงินภาษีได้รับการจัดทำบริการสาธารณะที่ ไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับระบบ ราชการไทยมีการพัฒนาและเกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการจัดทำบริการสาธารณะ อันเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชน เนื่องจากประชาชนมีความต้องการในฐานะ ผู้รับบริการจากราชการเพิ่มขึ้นทำให้ระบบราชการต้องเกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบขององค์กร เพื่ อรองรับการจัดทำบริ การสาธารณะในด้านต่าง ๆ เมื่ อระบบราชการไทยมีการขยายตัวขึ้น กฎหมายจึงได้บัญญัติหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานราชการไว้เพื่อเป็นเครื่องมื อในการจัดทำ บริการสาธารณะโดยอำนาจที่หน่วยงานราชการจะใช้นั้น เป็นอำนาจที่มีลักษณะเป็นการสร้างคุณ และสร้างโทษให้กับประชาชนได้ จึงจำต้องมีการควบคุมและคอยตรวจสอบเพื่อไม่ให้หน่วยงานราชการ ใช้อำนาจในลักษณะที่เกินขอบเขต หรือต้องดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะอันอยู่ภายใต้กฎหมาย และไม่เป็นการกระทบต่อสิทธิของประชาชนที่ เกินควร โดยบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจ หน่วยงานราชการเพื่อดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะมีลักษณะเป็นการให้อำนาจในการจัดทำ บริการสาธารณะไว้อย่างกว้าง ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบการใช้อำนาจของหน่วยงานรัฐ หรือการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ รัฐเพื่ อไม่ให้กระทำการใด ๆ อันเป็นการเกินขอบเขตหน้าที่ และอำนาจตามที่กฎหมายให้กำหนดไว้ เพราะการดำเนินการของหน่วยงานราชการจะต้องดำเนินการ อยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย รวมถึงกฎเกณฑ์หรือระเบียบต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้หน่วยงาน ราชการใช้อำนาจตามอำเภอใจอันส่งผลกระทบต่อประชาชน (ธีรวัฒน์ ขวัญใจ, 2560) ปัจจุบันการควบคุมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐหรือของหน่วยงานราชการนั้น มีด้วยกัน 2 ลักษณะ ได้แก่การตรวจสอบหน่วยงานราชการภายในองค์กรอันเป็นการใช้อำนาจ ทางบริหารและเป็นอำนาจในทางการปกครองของหน่วยงานราชการ และการตรวจสอบจากหน่วยงาน ภายนอกตามที่บทบัญญัติกฎหมายให้อำนาจไว้ การตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอกองค์กรนั้น ค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบเป็นอย่างมาก เพราะเนื่องด้วยหน่วยงานภายนอกมีความ เป็นอิสระในการดำเนินการและไม่ได้ตกอยู่ ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของหน่วยงานราชการ ที่ ถูกตรวจสอบ จึงทำให้เกิดประสิทธิภาพในการตรวจสอบอย่างแท้จริงประกอบกับปัจจุบัน มีหน่ วยงานที่ ทำหน้ าที่ ในการสอดส่ องหรื อควบคุ มการปฏิ บั ติ งานของหน่ วยงานราชการ หลายหน่วยงาน โดยการศึกษาวิจัยเล่มนี้จะศึกษาเฉพาะเพียงแต่หน่วยงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่ งมีบทบาทในการตรวจสอบ การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานราชการและตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการเป็นอย่างมาก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3