2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
115 สาระสำคัญข้อที่ 9 มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับสาระสำคัญในข้อที่ 8 เพียงแต่เพิ่มเติม การกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่รัฐ หากพิจารณาพยานเอกสารหลักฐาน รวมถึงเหตุผลสนับสนุนต่าง ๆ แล้ว เห็นว่าไม่เพียงพอต่อการกลับหรือโต้แย้งมติ ให้เป็นหน้าที่ของ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งในการแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าว ไปยังคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้ถูกชี้มูล ความผิดได้ทราบภายในห้วงระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องการขอทบทวนมติจากเจ้าหน้าที่ รัฐผู้ถูกชี้มูล วรรคสอง เป็นการกำหนดว่าเมื่อผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่รัฐได้ดำเนินการใช้ดุลยพินิจ ในการพิจารณาตามข้อ 9 วรรคหนึ่งแล้ว ก็ให้ดำเนินการพิจารณาสั่งลงโทษตามมาตรา 91 (2) ประกอบมาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 หมวดที่ 3 การพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบไปด้วยจำนวน 3 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 10 – ข้อที่ 13 สาระสำคัญของข้อที่ 10 เป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่า เมื่อได้รับสำนวนการขอทบทวนมติแล้ว จะต้องดำเนินการ มอบหมายให้กับคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการพิจารณากลั่นกรองเรื่อง และทำความเห็นเสนอ โดยการที่กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการขึ้นมานั้น ก็เพื่อเป็นการกลั่นกรองตรวจสอบความผิดพลาด ที่ อาจจะเกิดขึ้ นอีกชั้นหนึ่ งโดยการพิจารณาจากคณะบุคคลย่อมจะมีแนวคิดหรือความเห็นที่ หลายหลายในการพิจารณา ย่อมดีกว่าการพิจารณาจากบุคคลเพียงคนเดียว สาระสำคัญของข้อที่ 11 เป็นการกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาดำเนินการของ คณะอนุกรรมการซึ่งจะต้องดำเนินการพิจารณากลั่นกรองทำความเห็นเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภายในห้วงระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งให้ ดำเนินการพิจารณากลั่นกรองทำความเห็น สาระสำคัญของข้อที่ 12 เป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่า เมื่อได้รับเรื่องการพิจารณาคณะอนุกรรมการแล้วจะต้อง ดำเนินการพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยมีมติยืนยันตามเดิมหรือมีมติในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจากเดิม ภายในห้วงระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะอนุกรรมการ โดยการกำหนดระยะเวลา ดังกล่าวนี้ ผู้วิจัยได้นำหลักการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองมีหน้าที่ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3