2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
3 ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 ได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติไว้โดยให้อำนาจและหน้าที่ ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 ได้กำหนดนิยามคำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ไว้อย่างชัดเจนเพื่อตรวจสอบ ซึ่งหาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ตรวจสอบการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วพบว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดมีการใช้อำนาจเกินขอบเขตหรือได้ดำเนินการอันฝ่าฝืนบทบัญญัติ ของกฎหมายที่ กำหนดไว้ ในกรณีเกี่ ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ ราชการ การทุจริตต่อตำแหน่ง หน้าที่ราชการ การกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือการกระทำผิดที่เกี่ยวข้องกัน อันถือว่า เป็นการกระทำผิดทางวินัยของข้าราชการ ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติจะดำเนินการไต่สวนความผิดกับข้าราชการผู้นั้น ซึ่งหากผลการไต่สวนพบว่า มีการกระทำความผิดทางวินัยจริง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็จะ ดำเนินการส่งรายงานสำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐานและคำวินิจฉัยมายังผู้ บังคับบัญชาของ เจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเพื่อให้ดำเนินการทางวินัยหรือดำเนินการลงโทษต่อไป หากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีมติว่า เจ้าหน้าที่รัฐผู้ใดมีมูลในการ กระทำความผิดในลักษณะของการกระทำผิดวินัยตาม 4 ลักษณะข้างต้น ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่รัฐ หรื อผู้ มี อำนาจแต่ งตั้ งถอดถอนจะต้ องถือเอาสำนวนการไต่ สวนและเอกสารหลั กฐานของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของ คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นแล้วแต่กรณี ดำเนินการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยโดยไม่ต้องออกคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอีก แต่ก่อนที่ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนจะดำเนินการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยนั้น มาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้เปิดโอกาสให้ผู้ บังคับบัญชา ของ เจ้าหน้าที่รัฐสามารถใช้สิทธิขอทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้โดยการใช้สิทธิทบทวนมติดังกล่าวนั้น จะต้องมีพยานหลักฐานใหม่อันแสดงได้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ถูกกล่าวหามิได้มีการกระทำความผิดตามที่มีการชี้มูลความผิด และจะต้องดำเนินการส่งหนังสือ พร้อมเอกสารและพยานหลักฐานถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนมติภายใน 30 วันนับแต่วันที่ ได้รับเรื่ องจากคณะกรรมการป้องกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3