2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
5 สามารถใช้ดุลยพินิจในการทบทวนพยานเอกสารเสนอต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติเท่านั้น โดยระเบียบ กฎหมายที่ไม่ได้กำหนดถึงเรื่องสิทธิที่ให้ผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด ได้รับทราบมติใด ๆ ซึ่งโดยปกติพยานเอกสารหลักฐานใหม่ย่อมเกิดจากการแสวงหาของผู้ที่ถูกชี้มูล ความผิดในการที่จะนำมาหักล้างข้อกล่าวหา หรือขอใช้สิทธิในการทบทวนมติของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เมื่อผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดไม่ได้รับทราบมติดังกล่าว ย่อมทำให้ เป็นการตัดโอกาสของผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดในการที่จะนำพยานหลักฐานอื่นหรือพยา นหลักฐานใหม่ มาแสดงหรือส่งให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกกระทบสิทธิโดยตรง ทั้งยังเป็นการตัดโอกาสในการที่จะให้ผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดได้แสดง พยานเอกสารหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่า ผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดตามที่ มีการกล่าวหาหรือถูกชี้มูลความผิดซึ่งการขอทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติลักษณะนี้ เป็นการขอทบทวนมติในลักษณะก่อนที่จะมีการออกคำสั่งลงโทษ ทางวินัย ซึ่ งยังไม่ยากแก่การเยียวยาและยังไม่ต้องถึงขั้ นฟ้องร้องคดีต่อศาลหรือดำเนินการ ต่อหน่วยงานภายนอกองค์กร ประกอบกับยังเป็นการคืนความยุติธรรมหรือความเป็นธรรมให้กับ ผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด อีกทั้งไม่เป็นการสร้างภาระให้กับผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดในการต้องมาต่อสู้คดี ในภายหลัง (ประเสริฐ ผิวนวผล, 2563) ปัญหาขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาที่ ไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจน โดยประเด็น ปัญหานี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2560 ได้กำหนดให้สิทธิแก่ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดสามารถขอทบทวน มติได้แล้ว แต่ในกฎหมาย ระเบียบ หรือกฎ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวนี้ มิได้มีการระบุ ขั้นตอนการดำเนินรวมถึงระยะเวลาในการพิจารณาดำเนินการแต่อย่างใด อันส่งผลให้เกิดความไม่ชัดเจน รวมถึงกระบวนการพิจารณาทบทวนมติที่ ไม่มีกฎเกณฑ์ จึงควรที่จะต้องมีการกำหนดขั้ นตอน ของกระบวนการในการขอทบทวนมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไว้ด้วย รวมถึ งระยะเวลาในแต่ละขั้ นตอนการพิจารณาเพื่ อสร้ างกลไกกระบวนการทบทวนมติ ของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่นในการดำเนินการ ในทางกลับกันอาจจะเป็นการส่งผลดีและสร้างความเป็นธรรมให้กับข้าราชการผู้ถูกชี้มูลความผิดซึ่งเป็น ผู้ปฏิบัติงานเพื่อบริการตอบสนองความต้องการของประชาชน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3