2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
7 1.3 คำถามวิจัย 1.3.1 ระเบียบเรื่องแนวทางการเสนอพยานหลักฐานใหม่และการใช้สิทธิพิจารณาทบทวนมติของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ได้ออกมานั้น มีลักษณะที่ออกมาขัดแย้งกับ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หรือไม่ 1.3.2 การเพิ่มบทบัญญัติเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิให้กับผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดได้ทราบมติ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ก่อนที่หน่วยงานราชการจะมีการ ออกคำสั่งลงโทษทางวินัยจะเป็นผลดีหรือไม่ 1.3.3 หากมีการเพิ่ มระยะเวลาในแต่ละกระบวนการของการพิจารณาทบทวนมติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะส่งผลดีหรือไม่ อย่างไร 1.4 สมมติฐานของการวิจัย การใช้สิทธิเพื่อทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชี้มูลความผิดข้าราชการพลเรือน อาจจะเป็นการสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับข้าราชการผู้ที่ถูกชี้ มูลความผิด เพราะเนื่องด้วย พยานเอกสารหลักฐาน ซึ่งเป็นพยานหลักใหม่อาจอยู่ในความครอบครองของผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด มิใช่อยู่ในความครอบครองของผู้บังคับบัญชา เมื่อตัวข้าราชการผู้ซึ่งถูกชี้มูลความผิดไม่ทราบมติ การชี้มูลความผิดดังกล่าว ย่อมทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิในการขอทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ หรือไม่สามารถเสนอพยานเอกสารหลักฐานต่อผู้บังคับบัญชา เพื่ อใช้ดุลยพินิจในการ เสนอความเห็นทบทวนมติ ไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติได้ ประกอบกับหลักเกณฑ์เรื่องระยะเวลาในการของทบทวนมติ ตามหนังสือเวียน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ดังนั้น จึงควรศึกษา หาวิธีการในการนำหลักกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาประกอบในการขอใช้สิทธิทบทวนมติของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ถูก ชี้มูลความผิดตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และเป็นการ เปิดโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนสามารถใช้สิทธิในการของพิจารณาทบทวน มติดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3