2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

13 องค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 232 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนด ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการจำนวน 9 คน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ งตามคำแนะนำของวุฒิสภาซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการสรรหา และผู้ที่ได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการอื่นใด อันเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 7 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว 2.1.3 ลักษณะสถานะพิเศษของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 2/2546 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระตามที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดไว้ ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจตามที่กำหนด ไว้ในกฎหมายต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 โดยความเป็นอิสระและอำนาจหน้าที่ในการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น เป็นลักษณะของการชี้มูลความผิดที่ค่อนข้างมีความเด็ดขาด มีผลผูกพันต่อตัวของบุคคลที่ถูกมูลความผิดและผูกพันองค์กรของรัฐในการที่ต้องปฏิบัติตามมติ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดังกล่าว โดยหากพิจารณาถึงอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการผูกพันองค์กรต่าง ๆ นั้น คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 2/2546 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ได้วินิจฉัยไว้ว่า การใช้สิทธิอุทธรณ์ ของผู้ ถูกกล่ าวหา อันเนื่ องมาจากการลงโทษทางวินัยของผู้ บังคับบัญชาตามฐานความผิด ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติ มิใช่ฐานความผิดอันเกิดจาก การสอบสวนโดยผู้ บังคับบัญชาของผู้ ถูกกล่าวหา และมิใช่กรณีที่ ผู้ ถูกกล่าวหาถูกสั่ งลงโทษ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 การอุทธรณ์จึงต้องอยู่ ในขอบเขต ที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 บัญญัติไว้ โดยมีสิทธิในการอุทธรณ์ดุลยพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น คือ สามารถอุทธรณ์ ได้แต่เฉพาะระดับโทษ ตามฐานความผิดที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติ องค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหา และองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3