2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
15 และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และให้การบริหารทรัพยากรบุคคล ในภาคราชการ สอดคล้องกับหลักการบริหารราชการแนวใหม่อย่างแท้จริง พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย 11 หมวด 139 มาตรา ร่างขึ้นโดยการคำนึงถึง 5 หลักการ ที่สำคัญ ได้แก่ หลักคุณธรรม โดยเน้นที่ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้โอกาสทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน หลักความรู้ความสามารถที่จำเป็น และเหมาะสม กับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหลักผลงาน มีการให้คุณให้โทษโดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ และหลักความสมดุลระหว่างคุณภาพชีวิตและการทำงาน นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อระบบบริหารข้าราชการ จากเดิมที่ เน้นการพัฒนา ข้าราชการให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ยึดกระบวนการทำงานและประสิทธิภาพเฉพาะส่วน เปลี่ยนเป็นเน้นให้ข้าราชการเป็นผู้รู้รอบ รู้ลึก และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร มุ่งเน้นที่ประชาชน สร้างคุณค่า และผลผลิตผลลัพธ์ โดยมีตัวแปรที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนคือ การปรับระบบจำแนกตำแหน่งเพื่อเป็นฐานให้ราชการมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ตามลักษณะงาน ผลงาน และความรู้ความสามารถโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 22 ก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2551 2.2.1 ขั้นตอนการดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้มีการวางหลักการในเรื่อง ของการรักษาจรรยาข้าราชการไว้ในมาตรา 78 โดยมุ่งประสงค์ให้ข้าราชการเป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรี ประกอบกับหมวด 6 ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้มีการกำหนดถึงเรื่องวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญไว้ ซึ่งมีระดับโทษ 5 ระดับ ดังนี้ 1) ภาคทัณฑ์ 2) ตัดเงินเดือน 3) ลดเงินเดือน 4) ปลดออก 5) ไล่ออก โดยโทษทางวินัยทั้ง 5 สถานข้างต้นนั้น สามารถแบ่งระดับของโทษที่เป็นความผิด วินัยอย่างร้ายแรงและไม่ร้ายแรง ซึ่งสามารถแบ่งแยกระดับของความร้ายแรงได้ ดังนี้ 1) การกระทำ ความผิดวินัยอย่างร้ายแรงถูกบัญญัติไว้อยู่ใน มาตรา 82 มาตรา 83 และมาตรา 85 2) การกระทำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3