2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

16 ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงถูกบัญญัติอยู่ใน มาตรา 81 มาตรา 82 มาตรา 83 และมาตรา 84 โดยเมื่อมีการกระทำความผิดทางวินัยแล้วข้าราชการพลเรือนสามัญก็จะต้องถูกลงโทษทางวินัย ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้มีการกำหนดโทษ ที่ข้าราชการพลเรือนจะต้องได้รับหากมีการฝ่าฝืนระเบียบวินัยของข้าราชการไว้ด้วยกัน 5 สถาน ตามข้างต้น ซึ่งระดับโทษภาคทัณฑ์ โทษตัดเงินเดือน และโทษลดเงินเดือน นั้น เป็นโทษทางวินัย กรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญได้กระทำความผิด อันเป็นความผิดวินัยเล็กน้อย และส่วนระดับโทษ ปลดออกและโทษไล่ออก นั้น เป็นระดับโทษที่ข้าราชการพลเรือนสามัญจะได้รับหากกระทำผิดวินัย ในสถานที่ เป็นความผิดย่างร้ายแรง โดยการพิจารณาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องได้รับ โทษสถานใด นั้น จะต้องพิจารณาถึงระดับแห่งความร้ายแรง ผลกระทบที่ เกิดขึ้น ประกอบถึง ความเสียหายที่มีผลจากการกระทำ ตามที่ระเบียบบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติไว้ จึงจะสามารถ พิจารณาได้ว่า การกระทำความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดวินัยระดับใด และโทษที่จะได้รับ ควรอยู่ในสถานโทษระดับใด ก่อนจะมีการออกคำสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญ 2.2.1.1 ลักษณะเรื่องร้องเรียน การร้องเรียนหน่วยงานราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐโดยประชาชนถือเป็นการ สะท้อนการบริหารราชการในการทำงานของหน่วยงานรัฐ และเป็นการวัดประสิทธิภาพของ ระบบราชการเพื่อให้หน่วยงานราชการได้เกิดการตระหนัก และเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญในการ ที่จะแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน หรือเป็นการควบคุมการทำงานของเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานเพื่อไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการบริการกับประชาชน อันเป็นการสร้างระบบ การตรวจสอบการทำงานไม่ให้หน่วยงานรัฐใช้อำนาจที่เกินควร อันส่งผลให้งานราชการเกิดประสิทธิภาพ ปลอดจากการทุจริต (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) : พอช, 2561) โดยลักษณะ ของเรื่องร้องเรียนสามารถแบ่งแยกย่อยออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1) เรื่ องร้ องเรี ยนที่ มีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ตามมติคณะรั ฐมนตรี โดยนิยามความหมายของคำว่า “ร้องเรียน” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึงเสนอเรื่องราว และคำว่า “บัตรสนเท่ห์”หมายถึง จดหมายฟ้องหรือกล่าวโทษผู้อื่นโดยมิได้ ลงชื่อหรือไม่ลงชื่อจริงของผู้ เขียน (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2556) การร้องเรียนหน่วยงาน ราชการหรื อเจ้ าหน้ าที่ รั ฐโดยบั ตรสนเท่ห์นั้ น คณะรั ฐมนตรี ได้ มี มติ ในที่ ประชุ มเมื่ อวั นที่ 22 ธันวาคม 2541 ให้ส่วนราชการถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการร้องเรียน กล่ าวโทษข้าราชการและการสอบสวนเรื่ องราวร้ องเรี ยนกล่ าวโทษข้าราชการว่ ากระทำผิด โดยการพิจารณาเรื่องร้องเรียนกล่าวโทษกรณีที่เป็นบัตรสนเท่ห์นั้น ตามหนังสือสำนักเลขาธิการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3