2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

20 ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยแล้ว คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยก็จะประชุมเพื่อสรุป รายงานผลการสอบสวน และเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งลงโทษ ทางวินัยต่อไป โดยผู้บังคับบัญชาซึ่ งมีอำนาจสั่ งบรรจุและแต่งตั้ งเมื่อพิจารณาสำนวนรายงา น การสอบสวนแล้วเห็นว่า เป็นการกระทำความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ก็สามารถสั่งลงโทษทางวินัย ได้ 3 ระดับ ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน และลดเงินเดือน ซึ่งหากสั่งลงโทษใน 3 ระดับดังกล่าวแล้ว ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่จะต้องรายงานไปยัง อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งข้าราชการผู้นั้นสังกัดอยู่เพื่อให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาว่าการลงโทษดังกล่าวมีความถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่เพียงใด หาก อ.ก.พ.กระทรวงเห็นว่า การสั่งลงโทษดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็จะดำเนินการสั่ งให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการใหม่ ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับพฤติกรรมการ แห่งกระทำผิดวินัย แต่หากคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย รายงานผลการสอบสวนว่า การกระทำ ของข้าราชการพลเรือนสามัญรายดังกล่าว เป็นความผิดทางวินัยนัยอย่างร้ายแรง ก็จะมีโทษทางวินัย 2 ระดับ คือ ปลดออกและไล่ออกจากราชการ โดยเมื่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ได้รับสำนวนรายงานผลการสอบสวนแล้ว อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาซึ่งมี อำนาจสั่ งบรรจุและแต่งตั้ ง ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก่อนออกคำสั่ งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงนั้น ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่ งบรรจุ ตามมาตรา 57 จะต้องดำเนินการส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทร วง ซึ่งข้าราชการผู้นั้นสังกัดอยู่แล้วแต่กรณี พิจารณาก่อนว่ารายงานผลการสอบสวนทางวินัยดังกล่าว มีความเหมาะสม ถูกต้องหรือไม่ เมื่อ อ.ก.พ. ที่ผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งดำเนินการ ออกคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามมติของ อ.ก.พ. ที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดอยู่ โดยจะต้องได้รับโทษทางวินัย 2 สถาน คือ ปลดออก จากราชการและไล่ ออกจากราชการ ทั้ งเมื่ อผู้ บั งคับบัญชาผู้ มี อำนาจสั่ งบรรจุ และแต่ งตั้ง ตามมาตรา 57 ได้สั่ งลงโทษตามมติ อ.ก.พ. ที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดอยู่แล้ว จะต้องรายงานผล การลงโทษดังกล่าวไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง ที่ผู้นั้นสังกัดอยู่อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าคำสั่งลงโทษ ดังกล่าวเหมาะสมและถูกต้องหรือไม่เพียงใดอีกชั้นหนึ่ง จากการดำเนิ นการตามข้ างต้ นนั้ น เห็นได้ ว่ าเมื่ อมี การกล่ าวหาว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยก็จะมีการสั่งลงโทษทางวินัย หากเป็นกรณีการกระทำ ความผิดวินัยไม่ร้ายแรง และได้มีการแจ้งสิทธิให้ข้าราชการผู้นั้นโต้แย้งแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าว และแม้ว่าผลการรายงานสอบสวนทางวินัยจะออกมาในเชิงของการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3