2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

21 ผู้บังคับบัญชาก็ไม่สามารถที่จะสั่งลงโทษได้ทันที จะต้องมีการเสนอเรื่องไปยัง อ.ก.พ. ที่ข้าราชการ ผู้นั้นสังกัดอยู่เพื่อพิจารณาอีกครั้ง โดย อ.ก.พ. ที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดอยู่มีอำนาจในการแก้ไข เปลี่ยนแปลงฐานความผิด หรือลดระดับโทษได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่า ฐานความผิดและโทษตามที่ ผู้ บังคับบัญชาซึ่ งมีอำนาจสั่ งบรรจุ ได้ เสนอมานั้ น ไม่ถูกต้องและไม่ เหมาะสมกับพฤติกรรม ของการกระทำ ก็มีอำนาจที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และหาก อ.ก.พ. ที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดอยู่ มีมติเป็นประการใดแล้ว ผู้บังคับบัญชาจะต้องสั่งลงโทษไปตามมติของ อ .ก.พ. ดังกล่าว เห็นได้ว่า แม้คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยได้รายงานผลการสอบสวนมา ผู้บังคับบัญชาก็ไม่จำต้องถือตาม ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเสมอไป หากมีข้อโต้แย้ งและเหตุผลที่ ดีกว่า ประกอบกับก่อนการออกคำสั่ งลงโทษทางวินัย ยังต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจาก อ.ก.พ. ที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดอยู่อีกรอบ ถือได้ว่าเป็นการทบทวนรายงานการสอบสวนก่อนที่จะออกคำสั่ง ลงโทษทางวินัยซึ่งเป็นผลดี คือมีการเปิดโอกาสให้มีการทบทวนการดำเนินการทางวินัย ก่อนที่จะ ออกคำสั่งลงโทษทางวินัย ทั้งในส่วนของข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายและเป็นการไม่กระทบต่อสิทธิ ของข้าราชการในการที่จะกลับมาแก้ไขเยียวยาในภายหลัง 2.2.1.4 การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่ งมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้สั่งลงโทษทางวินัย ไม่ว่าจะเป็นโทษ ความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงก็ตาม ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ซึ่งถูกสั่งลงโทษดังกล่าว ย่อมมีสิทธิ์ ที่จะอุทธรณ์คำสั่ งลงโทษทางวินัยได้ตามหมวด 9 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตามความในมาตรา 114 ซึ่งได้วางหลักเอาไว้ว่า กรณีที่ข้าราชการ พลเรือนสามัญถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 นี้ ข้าราชการ ผู้นั้นมีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบ หรือถือว่าทราบคำสั่ง โดยเมื่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นประการใดแล้ว และได้ดำเนินการส่งเรื่องให้กับผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ก็ ให้ผู้ บังคับบัญชาซึ่ งมีอำนาจสั่ งบรรจุและแต่ งตั้ งดำเนินการให้ เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ภายใน 30 วัน นับแต่มีคำวินิจฉัย ซึ่งหากข้าราชการ ผู้ถูกกล่าวหาไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ก็สามารถที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือถือว่า ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ดังกล่าวได้ โดยถือว่าการพิจารณา ดังกล่าวเป็นการตรวจสอบความชอบของการกระทำ ซึ่ งดำเนินการจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3