2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

23 ปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร หรือเมืองพัทยา ผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ในองค์กรดังกล่าว ล้วนแล้วแต่เป็นพนักงาน ส่วนท้องถิ่นทั้ งสิ้น และในประเด็นเรื่ องที่ผู้ วิจัยกำลังศึกษาอยู่นั้น คือรูปแบบการทบทวนมติ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการใช้สิทธิ เพื่ อทบทวนมติ โดยผู้ ศึกษาศึกษารูปแบบการดำเนินการทางวินัยแต่เฉพาะของพนักงานเทศบาล เพื่ อนำมา เปรียบเทียบในส่วนของการดำเนินการทางวินัยของพนักงานเทศบาลกับข้าราชการพลเรือนสามัญ และการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 2.3.1 ขั้นตอนการดำเนินการวินัยของพนักงานเทศบาล ไม่ว่าข้าราชการจะเป็นข้าราชการประเภทใดหรือเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น สังกัด หน่วยงานใด วินัยของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นย่อมเหมือนกันที่ข้าราชการทุกคน หรื อพนั กงานส่ วนท้องถิ่ นทุกรายจะต้องถื อปฏิบั ติ หากพิจารณานิ ยามของคำว่ า “วิ นั ย” ย่อมมีความหมายที่หลากหลาย แต่การรักษาวินัยข้าราชการนั้น ตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. สรุปไว้คือ การที่ข้าราชการแต่ละคนระวังไม่กระทำผิดวินัย การที่ผู้บังคับบัญชา องค์กร ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสังคม ดูแล ส่งเสริมและพัฒนาให้ข้าราชการมีวินัย การที่ผู้บังคับบัญชา องค์กร ผู้เกี่ยวข้อง และสังคมป้องกันมิให้ข้าราชการกระทำผิดวินัยและการที่ผู้บังคับบัญชา และผู้ที่เกี่ยวข้องเยียวยา โดยดำเนินการแก่ข้าราชการผู้กระทำผิดวินัย (ประวีณ ณ นคร, 2558) ในส่วนของขั้นตอนการดำเนินการทางวินัยของพนักงานเทศบาลนั้น ในกระบวนการ ต่าง ๆ มีความเหมือนกันกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการพลเรือน ซึ่งจะะต้องมีการแจ้งคำสั่ง ให้พนักงานส่วนท้องถิ่นทราบเพื่อใช้สิทธิคัดค้านคำสั่ งแต่งตั้ งคณะกรรมการ แจ้งข้อกล่าวหา เปิดโอกาสให้พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ถูกกล่าวหาโต้แย้งพยานหลักฐาน และเปิดโอกาสให้ชี้แจง ข้อเท็จจริง มีการตรวจสอบจากพยานบุคคล พยานเอกสารอย่างรอบด้าน เพียงแต่ในความต่างกัน ระหว่างพนักงานเทศบาลกับข้าราชการพลเรือนสามัญนั้น จะมีความต่างอยู่ที่ ผู้มีอำนาจในการ สั่งลงโทษทางวินัย เพราะในส่วนของข้าราชการพลเรือนผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ คือ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และแต่งตั้งตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ .ศ. 2551 ซึ่งได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี ปลัดกระทรวง เป็นต้น แต่ในส่วนของพนักงานเทศบาลนั้น ผู้มีอำนาจ ในการสั่ งลงโทษทางวินัยก็ คือ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ น หรือนายกเทศมนตรีตำบล นายกเทศมนตรีเมือง นายกเทศมนตรีนครในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการพิจารณา สั่ งลงโทษก็จะมีคณะกรรมการกลางในแต่ละจังหวัดทำหน้าที่ ในการตรวจสอบความถูกต้อง ของการสั่งลงโทษอีก 2 หน่วยงาน ซึ่งจะมีความคล้ายกันกับการตรวจสอบในชั้นของข้าราชการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3