2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
27 จังหวัด ก็จะแจ้งมติไปยังนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แจ้งให้กับพนักงานเทศบาลผู้ซึ่งถูกสั่งลงโทษทางวินัยได้ทราบมติดังกล่าว หลังจากนั้นหากพนักงาน เทศบาลผู้ซึ่งถูกสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ซี่งอาจจะถูกสั่งลงโทษไม่ว่าจะเป็นการปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งลงโทษดังกล่าว ก็สามารถที่จะใช้สิทธิในการฟ้องคดี ต่อศาลปกครองได้ โดยจะต้องฟ้องภายใน 90 วันนับแต่วันที่ ทราบหรื อถือว่ าทราบมติ ของ คณะกรรมการพนักงานเทศบาลประจำจังหวัดในการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าว ดังนั้น เห็นได้ว่าการใช้สิทธิอุทธรณ์ของพนักงานเทศบาลหรือของข้าราชการส่วนท้องถิ่น มีความคล้ายกันในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย แต่อาจจะแตกต่างกันในเรื่องของ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นต้น ซึ่งในส่วนของข้าราชการพลเรือนสามัญ จะมีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือที่เรียกว่า ก.พ.ค. เป็นผู้พิจารณาในเบื้องต้น แต่ในส่วน ของพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือพนักงานเทศบาลนั้น จะมีคณะกรรมการพนักงานเทศบาลประจำจังหวัด และคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาในเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อคณะกรรมการ พิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาลประจำจังหวัดได้พิจารณาแล้วมีมติ เป็นประการใด พนักงานเทศบาลผู้ซึ่งถูกสั่งลงโทษทางวินัยก็ยังมีสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้อีก หากไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของหน่วยงานทั้งสอง 2.4 กระบวนการไต่สวนและชี้มูลความผิดทางวินัยโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ กระบวนการไต่สวนและชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาตินั้น ได้ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไว้ อยู่ในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับดังกล่าว โดยกำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีหน้าที่ และอำนาจในการไต่สวนผู้บริหารซึ่งดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรง ตำแหน่งในองค์กรอิสระต่าง ๆ รวมถึงไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ หรือกระทำความผิดฐานทุจริต กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่ง หน้าที่ ในการยุติธรรม หรือฐานความผิดที่ เกี่ ยวข้อง เมื่ อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับดังกล่าว ได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3