2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

30 2.4.1 การส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการดำเนินการทางวินัยกรณีของข้าราชการ พลเรือนสามัญและพนักงานส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ในมาตรา 4 ได้ให้นิยามความหมายของคำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ไว้ซึ่งหมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ของรัฐหรือในรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่นรวมไปถึง กรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเป็นต้น โดยเมื่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ ไต่สวนและมีมติวินิจฉัยแล้วว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มีการกระทำความผิด ฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกัน และกรณีเป็นมูล การกระทำความผิดทางวินัย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็จะดำเนินการ ส่งรายงานสำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐานและคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจ แต่งตั้ งถอดถอนเพื่ อให้ดำเนินการสั่ งลงโทษภายใน 30 วัน อันเป็นไปตามความในมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ต่อมาเมื่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจ สั่งแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหา ได้รับสำนวนไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติตามมาตรา 91 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ถอดถอนข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 และผู้มีอำนาจในการสั่งบรรจุและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลคือ นายกเทศมนตรี หรือนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำเทศบาลนั้น ๆ จะต้องดำเนินการพิจารณาโทษทางวินัย ตามฐานความผิดที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้มีมติ โดยไม่ต้อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอีก โดยให้ถือว่าสำนวนรายงานการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัย หากเป็นการชี้ มูลความผิดในลักษณะ 4 ฐานความผิดตามข้างต้น ผู้บังคับบัญชา ของข้าราชการพลเรือนสามัญและผู้บริหารท้องถิ่น สามารถสั่งลงโทษตามฐานความผิดดังกล่าวได้เลย แต่กระบวนการพิจารณาก่อนลงโทษนั้น ก็จะต้องพิจารณาตามกฎหมายของแต่ละส่วนราชการนั้น ๆ หากเป็นกรณีของข้าราชการพลเรือนสามัญเมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งได้รับสำนวน รายงานการไต่สวนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งชี้มูลความผิด ใน 4 สถานข้างต้นดังกล่าวแล้ว ก่อนที่จะมีการออกคำสั่งลงโทษทางวินัย จะต้องดำเนินการส่งเรื่อง ให้ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด พิจารณาก่อนออกคำสั่งลงโทษทางวินัย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3