2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
31 และหากเป็นกรณีของพนักงานเทศบาล นายกเทศมนตรี ก็จะต้องดำเนินการส่ งเรื่ องให้กับ คณะกรรมการพนั กงานเทศบาลประจำจั งหวั ด เพื่ อพิ จารณาสำนวนรายงานการไต่ สวน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ก่อนออกคำสั่ งลงโทษทางวินัย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในส่วนของการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการเรือนสามัญหรือพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ชี้มูลความผิดใน 4 ฐาน ความผิดตามข้างต้นแล้ว หน่วยงานที่มีอำนาจในการพิจารณาอุทธรณ์ เช่น คณะกรรมการพิทักษ์ ระบบคุณธรรม หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาลประจำจังหวัด ก็ไม่สามารถที่จะไปปรับเปลี่ยน ฐานความผิดตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติได้ เพียงแต่สามารถ ที่จะลดระดับโทษ ที่จะได้รับจากโทษไล่ออกจากราชการเป็นเหลือระดับโทษปลดออกจากราชการ ได้เท่านั้น อันเป็นไปตามนัยของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 2/2546 2.4.2 การใช้สิทธิทบทวนหรือโต้งแย้งมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ การทบทวนหรือโต้แย้งมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น เป็นการใช้สิทธิทบทวนมติก่อนที่ หน่วยงานของรั ฐจะดำเนินการออกคำสั่ งลงโทษทางวิ นัย ซึ่ งตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปร าบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้ หากผู้ บังคับบัญชาหรื อผู้ มีอำนาจสั่ งแต่ งตั้ งถอดถอน เจ้าหน้าที่ของรัฐ เห็นว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันแสดงได้ว่าผู้ถูกกล่าวหามิได้มีการกระทำความผิด ตามที่กล่าวหา หรือกระทำความผิดในฐานความผิดที่แตกต่างจากที่ถูกกล่าวหา ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่มีอำนาจสั่ งแต่งตั้ งถอดถอน อาจใช้ดุลยพินิจในการมีหนังสือและพยานหลักฐานส่งถึง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนมติได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้มีหนังสือแนวทางการเสนอ พยานหลั กฐานใหม่ และการใช้ สิ ทธิ ในการพิ จารณาทบทวนมติ ของ คณะกรรมการป้ องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไว้ โดยหน่วยงานราชการจะต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว การที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ให้มีการใช้สิทธิ เพื่อทบทวนหรือโต้แย้งมติดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินการก่อนที่หน่วยงานของรัฐ กรณีของข้าราชการ พลเรือนสามัญก็คือ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ใช้สิทธิในการขอทบทวนมติก่อนที่จะดำเนินการออกคำสั่งลงโทษ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3