2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

33 หรือเป็นอันตรายต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือของประเทศชาติ และไม่เป็นการ ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น ซึ่งจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีการบัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพซึ่งประชาชนทุกคนพึ่งจะได้รับจากรัฐโดยมุ่งคุ้มครอง ประชาชนทุกคน ประกอบกับสิทธิและเสรีภาพเป็นเครื่องมือที่ ใช้ในการที่จะสื่อว่าสังคมนั้น ๆ มีการบริหารประเทศอย่างไร มีการปกครองในรูปแบบใด และมีการให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชน เพียงใด เพราะเนื่องจากสิทธิและเสรีภาพของปวงชนนั้น ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการ ในการใช้อำนาจของรัฐที่จะแสดงได้ว่า รัฐจะไม่มาก้าวล่วงละเมิดความเป็นอยู่ ของประชาชน อันเป็นการรุกล้ำสิทธิของประชาชนที่เกิดควร (สากล พรหมสถิตย์, 2561) 2.5.1 นิยามคำจำกัดความของคำว่าสิทธิ และสิทธิของผู้ ที่ ถูกดำเนินการทางวินัย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 นิยามความหมายของคำว่า “สิทธิ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้คำนิยามไว้ว่า 1. อำนาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ หรือเป็นอำนาจ 2 . อำนาจที่ กฎหมายรั บรองให้ กระทำการใด ๆ โดยสุ จริ ตได้ อย่ างอิ สระ แต่ ต้ อง ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของคนอื่น สิทธิ หมายถึง สิ่งที่เป็นประโยชน์ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติคุ้มครองและรับรองให้กับ ประชาชนในการกระทำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ ในเนื้อตัวร่างกาย หรือแม้กระทั่งในเสรีภาพก็ตาม ซึ่งปราศจากการไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของผู้อื่น (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 2538) สิทธิ หมายถึง อำนาจของตนที่ ให้บุคคลอื่นสั่งต่อเราในการกระทำการหรืองดเว้น กระทำการในบางเรื่องบางอย่าง อันเป็นการบังคับผู้เป็นเจ้าของสิทธิให้กระทำการ (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2538) ดังนั้น หากพิจารณาแล้วในมุมมองของผู้ วิจัยแล้วนิยามของคำว่า “สิทธิ” ย่อมมี คำนิยามที่ หลากหลาย ไม่ว่ าจะเป็นประโยชน์ที่ บุคคลควรจะได้รั บตามที่ กฎหมายบัญญัติ และรับรองคุ้มครองไว้ หรือสิ่งที่กฎหมายให้ความคุ้มครองแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกัน ว่าบุคคลอื่ นจะไม่สามารถเข้ามาก้าวล่วงละเมิดอำนาจหรือสิทธิต่าง ๆ ในเนื้ อตัว ทรัพย์สิน รวมทั้งความเป็นอยู่ของตนเองได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3