2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
34 สิทธิของผู้ที่ถูกดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายที่ ออกมา เพื่อควบคุมการปฏิบัติ หรือควบคุมพฤติกรรมของข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อมิให้กระทำการใด อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมส่วนรวมหรือประเทศชาติ ประกอบกับในพระราชบัญญัตินี้ มีบทบัญญัติบางมาตราที่เป็นการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของตัวข้าราชการ และยังเป็นการกำหนด บทลงโทษหากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ ใด กระทำผิดวินัยข้าราชการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ก็จะต้องถูกลงโทษหรือได้รับโทษทางวินัยข้าราชการ แต่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก็ได้ให้สิทธิแก่ข้าราชการที่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยในการใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่ง อันเป็นการ เปิดโอกาสให้ข้าราชการผู้ถูกสั่งลงโทษได้โต้แย้งประเด็นหักล้างอีกชั้นหนึ่ง อันเป็นการรักษาสิทธิ ของตัวข้าราชการ และยังเป็นการถ่วงดุลอำนาจในการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางวินัยอีกชั้นด้วย 2.5.2 สิทธิของผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดตามมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษกล่าวคือ มีบทบัญญัติบางประการ ที่มีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ โดยเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคลนั้ น เนื่ องจากเพื่ อให้การปฏิบัติหน้าที่ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช. ) สามารถที่จะดำเนินการตรวจสอบเพื่อประโยชน์ ต่อสาธารณะ จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลบางประการไว้ ซึ่งการชี้มูลความผิด ของข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นองค์ กรอิ สระที่ มีหน้ าที่ อำนาจในการป้ องกั นและปราบปรามการทุ จริ ต ซึ่ งกฎหมาย ได้ให้อำนาจในการชี้มูลความผิดไว้ในลักษณะพิเศษ หากข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลผู้ ใด ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิด ก็จะต้องถูกดำเนินการ ทางวินัยตามที่กฎหมาย ระเบียบของบุคคลนั้น ๆ กำหนด และหากเป็นการชี้มูลความผิดวินัย ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ฐานความผิดในการกระทำอันเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ อันเป็นการ ทุจริตต่อหน้าที่ ผู้บังคับบัญชาจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ ได้มีมติไต่สวน และจะต้องสั่งลงโทษตามมติดังกล่าว แต่ ถึ งอย่ างไรก็ ตามพระราชบั ญญั ติ ประกอบรั ฐธรรมนู ญว่ าด้ วยการป้ องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ก็ยังคงมีการระบุถึงสิทธิของผู้ที่ ถูกชี้ มูลความผิด วินัย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3