2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
35 ที่จะพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ของตัวเองได้อีกครั้งหนึ่ง โดยหากข้าราชการหรือพนักงานเทศบาล ผู้ถูกชี้มูลความผิด ก็สามารถที่จะดำเนินการอุทธรณ์คำสั่งต่อองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งบุคคลนั้นสังกัดอยู่ เช่น กรณีของข้าราชการพลเรือนสามัญก็สามารถที่จะใช้สิทธิ์ในการอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) หรือฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้น ส่วนกรณีของ พนักงานเทศบาลก็สามารถที่จะใช้สิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลประจำ จังหวัดนั้น ๆ ได้ อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิดังกล่าว เมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้ให้สิทธิแก่ผู้บังคับบัญชาที่สามารถใช้สิทธิในการ ขอทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่ งได้ชี้มูลความผิด ผู้ใต้บังคับบัญชาของตน เหตุใดจึงไม่ระบุถึงสิทธิที่จะให้ข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลผู้ถูกชี้มูลความผิด ได้ทราบมติดังกล่าวด้วย เพื่อที่จะสามารถใช้สิทธิในการทบทวนมติผ่านผู้บังคับบัญชาโดยตรงได้ เพราะเนื่องจากพยานเอกสารหลักฐานต่าง ๆ อาจจะอยู่ในความครอบครองของผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด มิใช่อยู่ในความครอบครองของผู้บังคับบัญชาแต่อย่างใด 2.6 ข้อจำกัดการใช้สิทธิทบทวนมติ ข้อจำกัดสิทธิในการขอทบทวนมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตนั้น หากดูนิยามความหมายจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 นิยามของคำว่า “ข้อจำกัด” หมายถึง สิ่งที่กำหนดขอบเขตหรืออำนาจไว้โดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อรวมกับนิยามความหมาย ของคำว่า “สิทธิ” แล้ว ย่อมจะมีความหมายในเชิงทำนองว่า การกระทำที่ถูกกำหนดขอบเขต หรือจำกัดอำนาจอันชอบธรรมในการที่จะขอใช้สิทธิเพื่อทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งสามารถที่จะอธิบายขยายความในประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1) ข้อจำกัดเกี่ยวกับการให้สิทธิเฉพาะผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ งถอดถอน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 99 ซึ่งกฎหมายเพียงแค่ให้สิทธิเฉพาะผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ซึ่งมีหน้าที่ และอำนาจในการดำเนินการทางวินัยกับผู้ถูกกล่าวหาตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ วินิจฉัยมีมติชี้มูลความผิดทางวินัย โดยสามารถขอทบทวนมติคณะกรรมการ ป้ องกั นและปราบปรามการทุ จริ ตแห่ งชาติ ได้ ภายใน 30 วั นนับแต่ ได้ รั บเรื่ อง และต้ องมี พยานหลักฐานใหม่ อันแสดงว่าผู้ถูกกล่าวหามิได้มีการกระทำความผิดตามที่กล่าวหาหรือกระทำ ความผิดที่แตกต่างจากที่ถูกกล่าวหา (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2516, 2561) จะเห็นได้ว่าแม้กฎหมายมีเจตนารมณ์ในการควบคุม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3