2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

36 และตรวจสอบความผิดพลาดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จากหน่วยงานภายนอก และเปิดโอกาสให้มีสิทธิ โต้แย้งในลักษณะเดียวกับการอุทธรณ์คำสั่ง ทางปกครองต่อหน่วยงานที่ออกคำสั่ งก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติก็มีปัญหาในการบังคับใช้อยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาที่ไม่ต้องการจะใช้สิทธิทบทวนมติดังกล่าว เพราะด้วย ความยุ่ งยาก และพยานเอกสารหลักฐานที่ ต้องมาตรวจสอบอีกครั้ ง หรื อไม่มีพยานเอกสาร อันเป็นเอกสารใหม่ในความครอบครอง ซึ่งส่งผลให้ผู้ถูกกล่าวหาไม่ค่อยได้รับการพิจารณาทบทวน และมติของการชี้มูลความผิดก็ไม่ต่างไปจากเดิม 2) ข้อจำกัดเกี่ยวกับการรับหรือยกเรื่ องกล่าวหาขึ้นพิจารณาใหม่ของ คณะกรรมการ ป้ องกั นและปราบปรามการทุ จริ ตแห่ งชาติ ตามพระราชบั ญญั ติ ประกอบรั ฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 54 (1) ซึ่งห้ามมิให้คณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รับหรือยกเรื่องกล่าวหาหรือประเด็นในเรื่องกล่าวหา ที่ ได้มีการวินิจฉัยมีมติ เสร็ จเด็ดขาดไปแล้ วขึ้ นพิจารณา เว้นแต่จะได้มีพยานหลักฐานใหม่ อันเป็นสาระสำคัญแก่คดี ซึ่งอาจทำให้ผลของคำวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติเปลี่ยนแปลงไป จะเห็นได้ว่า การจะรับเรื่องกล่าวหาใดขึ้นพิจารณาได้นั้น ต้องไม่ใช่ เรื่องที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้มีคำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว การจะพิจารณาว่าเรื่องกล่าวหาใดได้มีการวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว จึ งหมายถึงเรื่องกล่าวหา ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไม่ต้องมีการดำเนินการอื่นใดหลังจาก มีการปฏิบัติตามมติเรียบร้อยแล้ว รวมถึงกรณีที่ไม่ได้มีการขอทบทวนมติหรือการขอทบทวนมติ ไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 99 ด้วย จึงมีลักษณะคล้ายกับการขอให้มีการรื้ อฟื้นคดีอาญา ขึ้นพิจารณาใหม่อีกครั้ง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติกฎหมายที่ยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้บุคคลใด ก็สามารถร้องขอให้มีการตรวจสอบหรือพิจารณาในเรื่องกล่าวหา หรือประเ ด็นในเรื่องกล่าวหา ใหม่อีกครั้งได้หมด อันอาจจะเป็นการสร้างภาระในการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องมาวินิจฉัย ในเรื่องนั้นใหม่หลายครั้ง 3) ข้ อจำกั ด เ กี่ ยวกั บกา รทบทวนมติ คณะกร รมกา รป้ อ งกั นและปร าบปร า ม การทุจริตแห่งชาติที่มีต่อการดำเนินดีทางอาญา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 นัยมาตรา 93 ได้กำหนดให้อัยการสู งสุด จะต้องพิจารณาสำนวนการไต่สวนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มี มติ ชี้ มูลความผิ ดทางอาญาและส่ งให้อั ยการสู งสุ ด ภายในกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3