2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
38 ก่อนที่จะนำเรื่องที่กำลังพิจารณาออกไปสู่องค์กรภายนอก เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการออกคำสั่ง โดยการอุทธรณ์นั้น จะต้องคำนึงถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาด้วย เพราะเนื่องจากกฎหมาย แต่ละฉบับจะระบุถึงสิทธิของการอุทธรณ์ไว้เป็นการเฉพาะอย่างเช่น พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ได้กำหนดในเรื่ องของการอุทธรณ์ไว้ เป็นการเฉพาะ ซึ่งอยู่ในหมวด 14 การอุทธรณ์ พระราชระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดในเรื่องของ การอุทธรณ์ไว้เป็นการเฉพาะอยู่ในหมวด 9 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดในเรื่ องของการอุทธรณ์ไว้ โดยอยู่ในมาตรา 101 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว โดยหากระเบียบหรือกฎหมายฉบับใดที่มิได้มีการบัญญัติในเรื่องของการอุทธรณ์ คำสั่งทางปกครองไว้ก็จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายกลาง ซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยในมาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใด กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม หรือมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 44 ได้บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใด ไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มี กฎหมายกำหนด ขั้ นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่ กรณีอุทธรณ์คำสั่ง ทางปกครองนั้น โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้ง คำสั่งดังกล่าว” (นรุตม์ พัฒนไพศาลชัย, 2564) การอุทธรณ์ตามกฎหมายเฉพาะ จึงเป็นขั้นตอนการดำเนินการที่จะต้องปฏิบัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น ๆ ก่อนที่จะนำคดีเข้าสู่กระบวนการทางศาลหรือองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ใน การพิจารณาอุทธรณ์ กล่าวคือจะต้องมีการอุทธรณ์หรือดำเนินการตามที่กฎหมายหลักกำหนดก่อน และหากกฎหมายหลักมิได้กำหนดเรื่องการอุทธรณ์ไว้ ก็จะต้องนำหลักตามที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาใช้บังคับ ประกอบกับเมื่อคำสั่งทางปกครองเป็นการกระทำที่ หน่วยงานรั ฐใช้ อำนาจทางปกครองอย่ างหนึ่ ง เพื่ อเป็นการป้ องกันมิ ให้ เจ้ าหน้ าที่ รั ฐซึ่ งมี อำนาจเหนือกว่าประชาชนใช้อำนาจของฝ่ายปกครองหรือในทางปกครองที่มีลักษณะในเชิงการ ใช้อำนาจตามอำเภอใจหรือใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง หรือดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการที่ไม่เป็นไป ตามกฎหมาย จึงจำเป็นต้องเกิดกระบวนการทบทวนตรวจสอบเบื้องต้นขึ้นมาซึ่งเรียกว่า “การอุทธรณ์ เบื้องต้นในฝ่ายปกครอง” เมื่อมีการทบทวนภายในฝ่ายปกครองแล้ว หากผู้ที่ ได้รับผลกระทบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3