2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

39 ไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาก็สามารถดำเนินการใช้สิทธิฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครองหรือองค์กร ที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอุทธรณ์ต่อไปได้ 2.7.2 ขั้นตอนการอุทธรณ์ทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรื อน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดในเรื่ องของ การอุทธรณ์ไว้ ซึ่งอยู่ในหมวด 9 การอุทธรณ์ ตามมาตรา 114 ถึงมาตรา 121 โดยมาตรา 114 ของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งจะต้อง เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญถูกลงโทษทางวินัย ไม่ว่าจะเป็นโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก หรื อไล่ ออก หรื อถู กสั่ งให้ ออกจากราชการตามมาตรา 110 ในอนุ มาตราดั งนี้ (1) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (3) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้มดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 36 ก. (1) หรือ (3) หรือมีลักษณะ ต้องห้ามตามมาตรา 36 ข. (1) (3) (6) หรือ (7) ต่อมา (5) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ ใด ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทาง ราชการ (6) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ ราชการ ถ้าผู้ นั้น รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (7) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ ใดมีกรณี ถูกสอบสวนว่ ากระทำผิดวินัยอย่ างร้ ายแรงตามมาตรา 93 และผลการสอบสวนไม่ ได้ความ แน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ และ (8) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษหรือต้องรับโทษจำคุก โดยคำสั่งของศาลซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ได้ภายใน 30 วันนับแต่ วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551, 2551) โดยการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 นั้น การที่ ผู้ซึ่งถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามที่กล่าวไปข้างต้น ร้องขอความเป็นธรรม จากองค์กรผู้มีหน้าที่อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ยกเรื่องของตนขึ้นพิจารณาใหม่ เพื่อให้เป็นคุณกับตัวเอง และการอุทธรณ์คำสั่ งลงโทษดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นการยื่นอุทธรณ์ โดยการทำเป็นหนังสือถึ งประธาน ก.พ.ค. และมีสาระสำคัญในรายละเอียดของหนังสือกล่ าวคือ มีชื่อ ตำแหน่ง สังกัด ที่อยู่ คำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ วันที่ตนเองรับทราบคำสั่ง ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายที่ยกขึ้นเป็นข้อคัดค้าน คำขออุทธรณ์ และลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ (นุชนาถ ประทีปธีรานันต์,

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3